ปัจจัยจูงใจ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ทางอินเทอร์เน็ต และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. 2) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านตรงกำหนดเวลา และด้านข้อมูลถูกต้องครบถ้วนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และ 3) การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จำนวน 400 คน โดยการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Yamane (1973) วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยจูงใจ ด้านความรู้และความเข้าใจ ด้านการบริการ และด้านการประชาสัมพันธ์ ส่งผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านตรงกำหนดเวลา ด้านข้อมูลถูกต้องครบถ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05. 2) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางอินเทอร์เน็ต ด้านการรับรู้ความเสี่ยงและด้านความไว้วางใจของผู้ใช้งานส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านตรงกำหนดเวลา ด้านข้อมูลถูกต้องครบถ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ด้านสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ด้านการคาดหวังการใช้งานง่ายและด้านการรับรู้ว่ามีประโยชน์ ส่งผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านตรงกำหนดเวลา ด้านข้อมูลถูกต้องครบถ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมสรรพากร. (2561). รายงานประจำปี 2561 กรมสรรพากร. กรุงเทพฯ: กรม.
กรมสรรพากร. (2564). รายงานประจำปี 2564 กรมสรรพากร. กรุงเทพฯ: กรม.
กองวิชาการแผนภาษี กรมสรรพากร. (2562). แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565 และแผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566, จาก http://download.rd.go.th/fileadmin/download/plan/rdplan2020-2022.pdf
กองวิชาการแผนภาษี กรมสรรพากร. (2566). ผลจัดเก็บภาษีรายปี ปีงบประมาณ 2557 – 2565. . สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/tax_report/
tax_report_2557_2565.xls
ขวัญฤทัย พัฒน์แก้ว. (2563). การตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสานักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 3. บทความวิจัย, มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
ดวงพร เพชรคง. (2560). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานกฎหมาย 2 สำนักกฎหมาย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
นิชานันท์ ชาวนา. (2559). ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยศึกษาสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต), วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปฐมวงค์ สีหาเสนา. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
พิธุวรรณ กิติคุณ. (2558). การจัดการภาครัฐ: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
เพลินพิศ วิบูลย์กุล. (2558). แรงจูงใจ Motives การจูงใจ Motivation. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565 จาก https://bit.ly/2OuVbj2.
ฟ้ารฬิณฑ์ ฟ้าฎิษฐกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้มีเงินได้ในเขตอำเภอลี้จังหวัดลำพูน. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วรพรรณ นุตโร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี.(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2558). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 207-215
อาริศรา นนทะคุณ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุไรพรรณ์ แซ่ลี้. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของพนักงานกลุ่มสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row. 125.