ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของบริษัทที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย และ 2) อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูล
แบบอนุกรมเวลา เป็นรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 ถึง ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2565 รวม 3 ปี จากการรายงานของตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย จำนวน 100 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) รายได้มีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตราส่วนกำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย (2) มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตราส่วนกำไรขั้นต้นของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมีอิทธิพลเชิงลบต่ออัตรากำไรจากการดำเนินงาน และอัตราส่วนกำไรสุทธิของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย
(3) อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมมีอิทธิพลเชิงลบต่ออัตราส่วนกำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย (4) อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตรากำไรจากการดำเนินงาน และอัตราส่วนกำไรสุทธิของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย และ(5) อัตราส่วนความสามารถชำระภาระผูกพันอัตราส่วน
มีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กวินทรา นำพล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปในครั้งแรกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กองเศรษฐกิจท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สรุปมูลค่า GDP เศรษฐกิจท่องเที่ยวไทย ปี 2565 รวม 9.8 แสนล้าน การบริโภค 1.01 ล้าน. ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2566, จาก https://healthserv.net/healtheconomy/222196
จันจิรา ขยันการ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและมูลค่าหลักทรัพย์: กรณีศึกษากลุ่มประเทศสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จิราพร เหง้าดา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ กรณีศึกษา บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชญาดา จวงสังข์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับคุณภาพกำไรของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ดารานาถ พรหมอินทร์. (2560). ความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานและคุณภาพกำไรต่อราคาตลาด หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). โครงสร้างการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์ฯ. ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2566 จาก https://media.set.or.th/set/Documents/2022/Apr/ 2021-12-01_SET-Industry-Group-Sector-Classification-23070356.pdf
ปทุมวดี โบงูเหลือม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับมูลค่ากิจการ ของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปฐมชัย กรเลิศ และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงินกับการจัดการกําไร: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมประเภทสินค้าอุปโภคและบริโภคในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(2), 165-181.
ธารารัตน์ ทูลไธสง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างราคาตามบัญชี กำไรจากการดำเนินงาน กำไรสุทธิ กระแสเงินสดจากเงินปันผล และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 73-90.
ประนอม คำผา. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตราส่วนทางการเงินและผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในรายชื่อหุ้นยั่งยืน. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(4), 161-173.
ปิยะณัฐ กาญจนารัตน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงิน กระแสเงินสด และมูลค่ากิจการของบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์: กรณีศึกษาประเทศในกลุ่มโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พิมพ์ประภา ทรัพย์ธานารัตน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกําไรและการบริหารเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทผู้ผลิตที่อยู่ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภานุวัฒน์ เบญจปฐมรงค์. (2562). ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
มยุรี สินธุเจริญ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของกิจการและขนาดของกิจการที่มีผลต่อการกระจายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นโดยการจ่ายเป็นเงินปันผลหรือซื้อหุ้นคืน (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
มัทนา กฤษฎางค์พร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของโรงพยาบาล (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัศมี ศรีลาวงศ์. (2561). การศึกษาอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2565. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566,จากhttps://www.nesdc.go.th/download/logistics/report/LogisticsReportTH.pdf
อรทัย อยู่บุญญ. (2563). อิทธิพลของอัตราส่วนความสามารถในการทำกำรืที่ส่งผลต่อมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 50 (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อัญชลี เมืองเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกําไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Deloof, M. (2003). Does Working Capital Management Affect Profitability of Belgian Firms?. Journal of Business Finance & Accounting, 30(3) & (4), 0306-686X.
Raheman, A., Afza, T., Qayyum, A., & Bodla, M. A. (2010). Working Capital Management and Corporate Performance of Manufacturing Sector in Pakistan. International Research Journal of Finance and Economies, 47, 154-166.
Mohammad, R. K., Amir, D., Komeilmahjori, K., & Abolfazl, M. (2013). Relationship between Financial Ratios and Stock prices for the Food Industry Firms in Stock Exchange of Iran. World Applied Programming, 3(10), 512-360.
Wagman, K. (2013). The leverage ratio – what is it and do we need it?. Economic Commentaries, 5(1), 1-6.