ผลกระทบของกระบวนการตรวจสอบและจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่มีผลต่อการใช้ทรัพยากรในการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของกระบวนการตรวจสอบที่มีผลต่อการใช้ทรัพยากรในการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่มีผลต่อการใช้ทรัพยากรในการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี จำนวน 300 คน ที่มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ณ ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.05 จากวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการตรวจสอบ ส่งผลเชิงบวกต่อการใช้ทรัพยากรในการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) จรรยาบรรณทางวิชาชีพ ส่งผลเชิงบวกต่อการใช้ทรัพยากรในการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการใช้ทรัพยากรในการสอบบัญชี มีความสำคัญต่องานสอบบัญชี สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการของสำนักงานสอบบัญชีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถลดต้นทุนในการสอบบัญชี เพื่อช่วยให้บรรลุผลสำเร็จในการตรวจสอบของสำนักงานสอบบัญชีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการสอบบัญชี เพิ่มคุณภาพที่ดีในการทำงานของผู้สอบบัญชีให้เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ชวนา วิวัฒน์พนชาติ และ สมพงษ์ พรอุปถัมภ์. (2565). การกำกับดูแลและผู้นำทำให้คุณภาพของสำนักงานสอบบัญชีดีขึ้นอย่างไร. ค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2566, จาก https://www.tfac.th
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์). สงขลา:
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2564). มาตรฐานบัญชี ฉบับเข้าใจง่าย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 65 ก. 22 ตุลาคม 2547
ราชิต ไชยรัตน์. (2565). จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Newsletter). มกราคม-มีนาคม 2565
ธนิยา นฤนาทชีวิน, เอมอร กิตติคุณงาม และ จิรานันท์ สุระยศ (2547). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติงานจริงของผู้สอบบัญชีภาษีอากร: เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพัฒนาศึกษา.
สุภาพร กุศลสัตย์. (2550). การนำมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมมาใช้ในประเทศไทยในมุมมองของผู้สอบบัญชี. (การศึกษาด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส, ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์, และเรขา อรัญวงศ์ (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Education and Innovation, 15(2), 67–79.
อธิษฐ์ ตระกูลเดช. (2565). จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Newsletter) .เมษายน- มิถุนายน 2565
Certo, C. S. (2000). Modern management. New Jersey: Prentice Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.
Lyu Qiang. (2017). Auditing method for resource access behaviors and device. https://typeset.io/