อิทธิพลของทัศนคติของผู้บริโภค คุณค่าตราสินค้า นวัตกรรมการตลาด และการตลาดดิจิทัล ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทัศนคติของผู้บริโภค คุณค่าตราสินค้า นวัตกรรมการตลาด การตลาดดิจิทัล และความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรในกรุงเทพมหานคร 2) อิทธิพลของทัศนคติของผู้บริโภค คุณค่าตราสินค้า นวัตกรรมการตลาด และการตลาดดิจิทัลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรในกรุงเทพมหานคร และ 3) แนวทางพัฒนาการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรในกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้
คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสมการเชิงโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 ราย ประกอบด้วย 1) ผู้ผลิตและผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่มสมุนไพร 2) ผู้บริโภคเครื่องดื่มสมุนไพรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 3) กลุ่มนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการตลาด และการตลาดดิจิทัล ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากส่วนทัศนคติของผู้บริโภค คุณค่าตราสินค้า และความตั้งใจซื้อซ้ำ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 2) อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้า ทัศนคติของผู้บริโภค นวัตกรรมการตลาด และการตลาดดิจิทัล ที่มีต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐาน และ 3) แนวทางการพัฒนาตลาดเครื่องดื่มสมุนไพรมี 4 ขั้นตอนหลักคือ (1) ศึกษาและปรับปรุงสมุนไพร (2) วิจัยตลาดเพื่อเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (3) สร้างแบรนด์ที่เน้นคุณค่าและความแตกต่าง และ (4) คำนึงถึงการจัดส่งสินค้าที่เร็ว และสร้างความน่าสนใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2560). แนวโน้มอุตสาหกรรมและขนาดตลาดของธุรกิจอาหาร. ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565, จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/quality-control/qs-trendsfoodbusiness
ฉัตรชัย พิศพล. (2563). คุณค่าตราสินค้าโฮสเทลในประเทศไทย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ชาญวิทย์ รัตนาราศี. (2553). เครื่องดื่มฟังก์ชัน. ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565, จาก http://www.nia.or.th/ innolinks/page.php?issue=201012§ion=6
บุญไทย แสงสุพรรณ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณค่าของตราสินค้าและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านคาเฟ่อเมซอน สาขาในห้างสรรพสินค้า จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 11(1),
-59.
มนัสนันท์ ธนาพุ่มเพ็ง และไกรชิต สุตะเมือง. (2557). ปัจจัยการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟสตาร์บัคส์ (Starbucks) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 8(9),17-28.
รุ่งแก้ว พุ่มโพธิ์ และเสาวลักษณ์ นัทธีศรี. (2565). ปัจจัยนวัตกรรมการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อของบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 28(1), 69-79.
สถาบันอาหาร. (2565). ตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลในประเทศไทย ปี 2564. ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565, จาก http://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=359
สิทธินันต์ สันติกุลสุข และพีรภาว์ ทวีสุข. (2561). พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารกราโนล่าผ่านร้านค้าออนไลน์. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(16), 61-82.
Aaker, D. A. (1996). Building Strong Brands. London, UK: Free Press.
Cherukur, R. B. & Priya, P. (2020). A Study on Impact of Digital Marketing in Customer Purchase in Chennai. Journal of Contemporary Issues in Business and Government, 26(2), 967-973.
Engel, J. F., Blackwell, R. D. & Miniard, P. W. (1993). Consumer Behavior. (7th ed.). Texas: The Dryden Press.
Engel, J. F., Blackwell, R. D., & Miniard, P. W. (1990). Consumer behavior. Hinsdale, Illinois: Dryden Press.
Hellier, P. K., Geursen, Gus, G. M., Carr, R. A. & Rickard, J. A. (2003). Customer Repurchase Intention: A General Structural Equation Model. European Journal of Marketing, 37(11), 1762-1800.
Karunaratna, A. C. (2021). Impact of Brand Equity Dimensions on Repurchase Intention: Evidence from Soft Drinks Consumption of Adolescents. South Asian Journal of Business Insights, 1(1), 3-24.
Kotler, P. (2009). Marketing Management Millennium Edition. New Jersey: Prentice Hall.
Mazzarol, T., & Soutar, G. (2008). Building Brand Equity by Managing the Brand's Relationships. Journal of Advertising Research, 32(3), 79-83.
Petty, R. E. & Cacioppo, J. T. (1986). Communication and persuasion: Central and peripheral routes to attitude change. New York: Springer.
Rietzen, J. (2007). What is digital marketing. Retrieved on December 7, 2022, from http://www.mobilestorm.com/resouces/digital-marketing-blog/what-isdigitalmarketing
Rogers, E.M. (2010). Diffusion of Innovations. (4th Ed.). New York: Simon and Schuster.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2007). Consumer Behavior. (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Schumacher, R. E. & Lomax, R. G. (1996). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. New Jersey: Lawrence Erl baum Associates.
Wertime, K. & Fenwick, I. (2008). Digi marketing: The essential guide to new media and digital marketing. Singapore: John Wiley & Sons (Asia).