การศึกษาเทคโนโลยียุคดิจิทัลและสมรรถนะนักบัญชีในยุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จของงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

พิลาพร กลุ่มกลาง
พรทิวา แสงเขียว

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยียุคดิจิทัลและสมรรถนะนักบัญชีในยุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จของงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 350 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ


      ผลการวิจัย พบว่า เทคโนโลยียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จของงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การใช้งานการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) การใช้งานระบบคลาวด์ (Cloud Computing) และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สมรรถนะนักบัญชีในยุคดิจิทัล ได้แก่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทักษะด้านภาษา และทักษะด้านวิชาชีพมีผลต่อความสำเร็จของงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากการศึกษาจึงสามารถสรุปได้ว่า ความสำเร็จของงานบัญชีของผู้ทำบัญชีนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆ ปัจจัย ทั้งเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลทางบัญชีในยุคปัจจุบัน ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานบัญชี ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ทำบัญชี เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงาน รวมถึงสมรรถนะของผู้ทำบัญชีที่ต้องมีการประยุต์ใช้เทคโนโลยี มีทักษะด้านภาษา และที่สำคัญที่สุดต้องมีทักษะด้านวิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัณญธิดา ลภัสธนาทิพ. (2566). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงาน. วารสารวิทยาการจัดการการบริหารสาธารณะและเอกชน, 1(2), 1-10.

โชคชัย สิทธิผลกุล และฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค. (2559). ระบบงานอัยการกับการอำนวยความยุติธรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 10(2), 17-30.

พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ และธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1), 109-121.

วิชาญ สัดชา. (2559). การบริหารแบบระบบราชการกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงาน อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

สิทธิโชค สุนทรโอภส และ สุวิมล สายโกมล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าของการก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน. เอกสารประกอบการประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28. (หน้า CEM02-1-CEM02-6). ภูเก็ต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อำนาจ เจตน์เจริญรักษ์. (2567). แถลงนโยบายการบริหารงานสำนักงาน. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2567, จาก

https://www3.ago.go.th/center/wp-content/uploads/2023/10/อสส.แถลงนโยบาย.pdf

Ishikawa, K. (1986). Guide to Quality Control. Tokyo: Asian Productivity Organization.

Juran, J. M., & Godfrey, A. B. (1999). Juran's Quality Handbook. New York: McGraw-Hill.กัญระยา กตะศิลา และเบญจพร โมกขะเวส. (2565). สมรรถนะของนักบัญชีที่มีผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชี ของผู้ประกอบการ SMEs ภาคบริการ ใน เขต กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 8(ฉบับที่ 11), 335-349. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/259340/178392

กุลธิดา ธนสมบัติศิริ. (2564). คุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของนักบัญชีในสํานักงานรับทําบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมทร.อีสาน, 9(2), 12-23.

ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 89-101.

พัชรินทร์ ใจเย็น และคณะ. (2560). นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, (1), 196-207.

วัทธยา พรพิพัฒน์กุล. (2563). นักบัญชีบริหารในยุคดิจิทัล. สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชินูปถัมภ์. ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567, จาก https://www.tfac.or.th/ Article/ Detail/126283

วิชิต เอียงอ่อน, สุนันทา พรเจริญโรจน์ (2562), นักบัญชียุคดิจิทัล. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยรำไพพรรณี, 2(2), 12-22.

ศรีสุดา อินทมาศ. (2562). โอกาสข้ามผ่านกรอบความคิดเดิมสู่โลกใหม่สายอาชีพนักบัญชียุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 8 เมษายน 2567, จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/126279

ศุภนิดา โคตรชาดา (2565). คุณลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดีและการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของ ระบบสารสนเทศ ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(2), 422-435.

สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา. (2564). 11 เทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567, จาก https://www.iesa.ac.th/11

อริยา สรศักดา. (2562). สมรรถนะนักบัญชีในยุคดิจิทัล. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567, จาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/articles/e441d-9.c9-149.pdf