รูปแบบหน่วยยามฝั่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาผลประโยชน์ ทางทะเลของไทย

Main Article Content

ประเสริฐ บุญทรง
กฤษณา ฟองธนกิจ
รัชฎา ฟองธนกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบหน่วยยามฝั่งที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล 2) รูปแบบของหน่วยยามฝั่งของประเทศที่มีบริบทใกล้เคียงกับประเทศไทย และ 3) เสนอรูปแบบของหน่วยยามฝั่งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารวิชาการทุกประเภท และศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยยามฝั่งต่างประเทศ จำนวน 6 ราย และผู้บริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย รวม 15 ราย โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบหน่วยยามฝั่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานสากล ได้แก่ หน่วยยามฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย กล่าวคือ มีความสอดคล้องกันในทุกระดับเป็นแบบหน่วยงานพลเรือน และหน่วยงานทหาร และประเภทเป็นอิสระแยกออกจากกองทัพเรือ 2) รูปแบบหน่วยยามฝั่งที่มีบริบทใกล้เคียงกับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศ อินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยตั้งในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลในทวีปเอเชีย ซึ่งอินเดีย และเวียดนามมีหน่วยยามฝั่งสังกัดกระทรวงกลาโหม ส่วนมาเลเซียสังกัดกระทรวงมหาดไทย หากแต่หน่วยยามฝั่งของอินเดีย และมาเลเซียเหมือนกันในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่างกับของเวียดนามที่เป็นกองทัพภาคประชาชนภายใต้ระบอบสังคมนิยม และ 3) รูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย ได้แก่ 3.1) การรวมหน่วยยามฝั่งทั้งหมดภายใต้กองทัพเรือในกระทรวงกลาโหม พร้อมเป้าหมายการปกป้องสิทธิอธิปไตยทางทะเล 3.2) การบรรจุกำลังพลที่มีอุดมการณ์และความเชี่ยวชาญในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล พร้อมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ชายฝั่ง 3.3) การจัดหายุทโธปกรณ์ทันต่อการอุบัติภัย 3.4) การจัดสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2560). ข้อมูลจังหวัดชายทะเล. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2567, จาก https://www.dmcr.go.th/home

เกียรติชัย อัทธายุวัฒน์. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการในสถาบันอุดมศึกษารัฐ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2554). รัฐกับสังคม: ไตรลักษณรัฐไทยในพหุสังคมสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.

จันทมร สีหาบุญลี. (2558). ระบบการเมือง. เอกสารอัดสำเนา. ออกอากาศเดือน พฤษภาคม 2558. รายการร้อยเรื่องเมืองไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2560). ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โยธิน แสวงดี. (2559). ประชากร การคำนวณขนาดตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th/

วิทยากร เชียงกูล. (2551). ปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อแก้ไขวิกฤติของชาติ. กรุงเทพฯ: สายธาร.

สุธิดา เสาวคนธ์. (2564). ประสิทธิภาพกับประสิทธิผลต่างกันอย่างไร. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.spu.ac.th/award/30386/qwe

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ. (2553). โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งหน่วยยามฝั่ง (รายงานฉบับสมบูรณ์). สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ.

ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง. (2563). เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงและการออกแบบการวิจัยด้านการบริหารการพัฒนา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Almond, G.A. (1960). Introduction: A Functional Approach to Comparative Politics, The Politics of the Developing Areas ed. by Gabriel A. Almond and James S. Coleman, Princeton, N.J.: Princeton University Press.

Ho, J. (2005). The role of coast guard units in maritime security: The Singaporean perspective. Journal of Maritime Studies, 12(3), 45-60.

Appiott, J., Dhanju, A. and Cicin-Sain, B. (2014). Encouraging renewable energy in the offshore environment. Ocean and Coastal Management, 90, 58-64.

Barale, V. (2018). A supporting marine information system for maritime spatial planning: the European Atlas of the Seas. Ocean and Coastal Management, 166, 2-8.

Boddy, D., McCalman, J., & Buchanan, D.A. (Eds.). (1988). The New Management Challenge: Information Systems for Improved Performance (1st ed.). London: Routledge.

Bryman, A. (1988). Doing Research in Organizations. London: Routledge.

Buchanan, D. (2012). Case studies in organizational research. In D. Buchanan Case studies in organizational research. North America: SAGE Publications Inc.

Certo, S.C. (2000). Modern Management. New Jersey: Prentice Hall International.

Drucker, P.F. (2005). The Effective Executive in Action. Australia: Wadsworth.

Easton, D. (1977). The Analysis of Political Systems. Comparative politics: notes and readings, ed. by Roy C. Macridis and Bernard Edward Brown (5th ed). Homewood, Ill., Dorsey Press.

Mattila, C. (1954). Improving joint patrols and maritime operations. Maritime Studies Press.

Paleri, P. (2008). Unlawful: The Maritime Dimension, Initial Manuscript. Institute of Defence Studies and Analyses Research Project.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at work: Models for superior performance. New York: John Wiley & Sons.

Stake, R. E. (2000). Qualitative Case Studies. In N. K. Denzin, & Y. S. Lincoln (Eds.), The SAGE Handbook of Qualitative Research (2nd ed., pp. 443-466). Thousand Oaks, CA: Sage.

Till, G. (2018). Seapower: A guide for the twenty-first century (4thed.). London: Routledge.

Till, G. (2004). Naval forces and coast guard cooperation: An essential relationship. Naval Forces Review, 8(2), 123-137.

Tuya, F., Haroun, R. and Espino, F. (2014). Economic assessment of ecosystem services: monetary value of seagrass meadows for coastal fisheries. Ocean and Coastal Management, 96, 181-187.

United Nations.(2014).Chronological lists of ratifications of, accessions and successions to the Convention and the related Agreements. as at 3 October 2014. Retrieved March 15, 2024, from http://www.un.org/depts/los/reference_files/chronological_lists_of_ratifications.htm

Wang, S., et al. (2017a). An integrated method for the control factor identification of resources and environmental carrying capacity in coastal zones: a case study in Qingdao, China. Ocean and Coastal Management, 142, 90-97.