ทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการ ของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ ในพื้นที่ภาคตะวันออก

Main Article Content

อดิเรก นารินทร์
ดารณี เอื้อชนะจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของทักษะทางวิชาชีพที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของจรรยาบรรณที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคตะวันออกประชากรที่ใช้ศึกษาได้แก่ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานสหกรณ์ออมทรัพย์ ในพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 286 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และจากนั้นได้นำข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามนำมาประมวลผล ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะทางวิชาชีพส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก ทั้งในด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กรและด้านความคุ้มค่าขององค์กร ผลการทดสอบพบว่า ทักษะทางปัญญามีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.633 ในด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และ 0.270 ในด้านความคุ้มค่าขององค์กร ขณะที่ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่งานมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.563 ในด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และ 0.511 ในด้านความคุ้มค่าขององค์กร ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) จรรยาบรรณของนักบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก ทั้งในด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กรและด้านความคุ้มค่าขององค์กร ความโปร่งใสมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.21 และ 0.166 ตามลำดับ, การรักษาความลับ 0.20 และ 0.462, ความซื่อสัตย์ 0.19 และ 0.688, ความเป็นอิสระ 0.16 และ 0.552, ความเที่ยงธรรม 0.05 และ 0.890 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2566). คู่มือธุรกิจ: รายชื่อสำนักงานบัญชีในแต่ละจังหวัด. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2567, จาก https://www.dbd.go.th/manual/1367

ขวัญชัย ชมศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นภัทร จันทรจตุรภัทร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งเน้นสมรรถนะทางด้านวิชาชีพบัญชีแบบมืออาชีพ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 111-124.

ประดินันท์ ประดับศิลป์ และลักษณา เกตุเตียน. (2557). จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้นำทำบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครต่อการจัดทำบัญชีและนำเสนองบการเงินที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประชาไท.(2549). รื้อคดีธุรกิจ (โกง) ข้ามชาติ กับความจำเป็นขององค์กรเฝ้าระวัง. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2567, จาก https://prachatai.com/journal/2006/06/8627

ประพิศ กุลบุตร. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ผาณิตา สันติสุข และพรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2566). การพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพส่งผลต่อคุณภาพงานสอบบัญชี ของผู้ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนุนทา, 6(2), 464-480.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2555). การจัดการจริยธรรมธุรกิจ: ฐานรากของซีเอสอาร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภูษณิศา ส่งเจริญ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในเขตกรุงเทพฯ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(1), 926-944.

รัชนีกร จันทิมี และ ฐิติรัตน์ มีมาก. (2559). จรรยาบรรณของนักบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ, หน้า 1123-1131. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วนันพรณ์ ชื่นพิบูลย์ และคณะ. (2562). ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี กรณีศึกษาผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 6(2), 49-61.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). มาตรฐานการสอบบัญชี. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2567, จาก https://acpro-std.tfac.or.th/

สุลิตา สุปิณะ. (2563). การศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี: กรณีศึกษานักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 123-132.

สุพัตรา รักการศิลป์ และคณะ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.), 20(1), 228-248.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564 ). คู่มือประมวลจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2567, จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/160537

สมชาย หิรัญกิตติ. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมจินตนา คุ้มภัย. (2553). การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล องค์การ: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อัมพร เที่ยงตระกูล. (2557). ความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพ และคุณค่าทางวิชาชีพของผู้สอบ บัญชีรับอนุญาตภายใต้มาตรฐานสากลที่มีผลต่อการดำเนินงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของผู้ใช้บริการกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (รายงานวิจัย).

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Zammuto, R.F. (1982). Assessing Organizational Effectivenes, System Change, Adaptation and Strategy. New York: State University of New York.