ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของนโยบายภาครัฐ ปัจจัยการผลิตเทคโนโลยีอัตโนมัติ กระบวนการผลิต และการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ 2) ปัจจัยด้านนโยบายภาครัฐ ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีอัตโนมัติ และกระบวนการผลิต ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะจังหวัดอุดรธานี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 340 ราย ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีสัดส่วน ด้วยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย อาศัยความน่าจะเป็น และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้บริหารและบุคลากรจากหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ บุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 15 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นข้อความบรรยายวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของนโยบายภาครัฐ ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีอัตโนมัติกระบวนการผลิต และการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านนโยบายภาครัฐ มีอิทธิพลโดยรวมต่อการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ มากที่สุด รองลงมา คือ เทคโนโลยีอัตโนมัติ กระบวนการผลิต และปัจจัยการผลิต ตามลำดับ และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) จัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการผลิต 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนระบบเกษตรอัจฉริยะ 3) ประสานความร่วมมือจากนักวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อออกแบบและการจัดเก็บข้อมูลด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องภายในแปลงเรียนรู้จากระบบเทคโนโลยี IOT และ4) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงต่าง ๆ ภาคเอกชน และหน่วยงานในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). การสัมมนาเรื่องเกษตรอัจฉริยะ. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.moac.go.th/news-preview-411191791414
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอุดรธานี. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2565. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.udonthani.go.th/2014/download/datacenter/Development_Plan6165(Recover65).pdf
กฤช นฤสิงห์สำราญ และธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2564). แนวทางการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(1), 319-335.
เกียรติศักดิ์ จันทร์แดง. (2549). การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ (Production and operation management). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.
จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา. (2559). เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 14(2), 201-210.
บุษยมาศ ซองรัมย์. (2557). ระบบเกษตรอัจฉริยะช่วยชาวนาไทยยั่งยืน. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.naewna.com/scoop/113251
ณัฏฐกิตติ์ ปัทมะ. (2563). การพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.senate.go.th/document/Ext23700/23700529_0008.PDF
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง. หน้า 1.
ศูนย์ประสานเครือข่ายอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2560). โครงการ การพัฒนาเครือข่ายเกษตรอัจฉริยะภาคเหนือ. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.agri.cmu.ac.th/2017/files/Document/ 22444_0.pdf
ศักดา กาญจนวนาวัลย์ และสยานนท์ สหุนันต์. (2562). รูปแบบปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์กับอุตสาหกรรมบริการในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 369-379.
สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน). (2567). แผนปฏิบัติการราชการกรมที่ดิน ระยะ 5 ปี. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2567, จาก https://www.labai.or.th/
สิตาวีร์ ธีรวิรุฬห์. (2559). สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/521040
Bank of Thailand. (2020). Economic overview and industry analysis report 2017-2018. Retrieved from,https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/en/research-and-publications/reports/financial-stability-report/FSR2020e.pdf
Knierim, et al. (2019).Smart farming technology innovations – Insights and reflections from the German Smart-AKIS hub. NJAS- Wageningen Journal of Life Sciences,90(91), 10314.