การส่งเสริมความเข้าใจของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เกี่ยวกับการเผยแพร่เนื้อหาของกฎหมายการโฆษณาอาหารและยาที่เข้าข่าย เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) การรับรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานีและ 2) การรับรู้บทบาทหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี โดยใช้วิธีการวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร/ผู้ประกอบการสถานีกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี จำนวน 6 สถานี สถานีละ 1 ราย ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีส่วนร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการรับรู้กฎหมายการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) การรับรู้บทบาทหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับสูงสุด 4 อันดับแรก ดังนี้ (1) ผู้ประกอบกิจการมีวิธีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์สินค้าในการการโฆษณา (2) ผู้ประกอบกิจการทราบถึงการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภค (3) ผู้ประกอบกิจการได้เข้าอบรมกับทาง กสทช. ในเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในการออกอากาศ และ (4) ผู้ประกอบกิจการชื่นชมต่อความพยายามของทุกภาคส่วนที่ต้องการพัฒนาระบบและกลไกการควบคุมและเฝ้าระวังการโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ปราศจากการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กอกนก กิจบาลจ่าย. (2561). โครงสร้างใบอนุญาตและกระบวนการอนุญาตกับภารกิจการกำกับดูแล การปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาตการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. วารสารวิชาการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, 2(2), 215-234.
กองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย. (2565). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
ธนพงศ์ ภูผาลี, วิมาน กฤตพลวิมาน และจิตตศุภางค์ ตันติภิรมย์. (2564). การวิเคราะห์ทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. วารสารเภสัชกรรมไทย, 14(1), 95-111.
พชร แกล้วกล้า, สถาพร อารักษ์วทนะ และชนิษฎา วิริยะประสาท. (2564). จับตาย โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โดย โครงการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2555). การศึกษาการจัดรูปองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม. รายงานทีดีอาร์ไอ, 91, 1-16.
วิลาสินี สิทธิโสภณ. (2561). กฎหมายว่าด้วยยาตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1833
ศิริชัย ศุภรัตนเมธา. (2564). แนวทางการตรวจสอบผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายหลังออกสู่ตลาด. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). แนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ตามประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
Bem, D. J. (1972). Self-perception theory. In L. Berkowitz (ed), Advances in experimental social psychology, 6, 1-62.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Fishbein, M. and Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behaviour. Massachusetts: Addison – Wesley.
Wartella, E., et al. (2013). Parenting in the age of digital technology: A national survey (Report of the Center on Media and Human Development). School of Communication, Northwestern University, Evanston, IL.
Wilson, B. J., et al. (2002). Violence in children’s television programming: Assessing the risks. Journal of Communication, 52(1), 5–35.
Zimmerman, B.J. (1989). Models of Self-Regulated Learning and Academic Achievement. In: Zimmerman, B.J., Schunk, D.H. (eds) Self-Regulated Learning and Academic Achievement. Springer Series in Cognitive Development. New York: Springer.