การวิเคราะห์ความต้องการและแนวทางส่งเสริมอาชีพในสถานการณ์โควิด-19 ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ของประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ของประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยคำนวณค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และความถี่
ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร มีความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ที่มีสถานภาพสมรส และแหล่งที่มาของรายได้ ต่างกัน มีความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สาเหตุการใช้จ่าย และที่อยู่อาศัย ความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ไม่แตกต่างกัน ความต้องการของประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพฯ ต้องการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้สูงในช่วงโควิด-19. ความต้องการแตกต่างตามสถานภาพสมรสและแหล่งที่มาของรายได้ แต่ไม่แตกต่างตามปัจจัยอื่น ๆ เช่น เพศและอายุ ข้อเสนอแนะคือควรจัดอบรมและฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น, ขึ้นทะเบียนอาชีพเสริม, และจัดตลาดนัดแรงงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ณัฐอรียา สุขสุวรรณพร. (2553). การสร้างอาชีพเสริมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธิดาพร สันดี. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มอาชีพนักดนตรี. วารสารจันทรเกษมสาร, 27(2), 298-316.
ธิติมา พลับพลึง และปิยพงศ์ พลับพลึง. (2564). โอกาสและแรงจูงใจในการเลือกอาชีพเสริมผู้ให้บริการรับส่งอาหารเดลิเวอรีช่วงโควิด-19. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 8(2), 21-38.
ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และปิยะกมล มหิวรรณ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 40-55.
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้. (2564). 5 อาชีพเสริม สุดปัง เพิ่มรายได้ พลิกวิกฤติโควิด-19. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2565, จาก https://home.frasersproperty.co.th/Blog/
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม.
สำนักทะเบียนราษฎร์กรุงเทพฯ. (2565). ระบบสถิตทางการทะเบียน. ค้นเมื่อ 29 เมษายน 2565, จาก
https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), 2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจ SME ใน ระบบเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อ 29 เมษายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php? nid=5748&filename=develop_issue
สุพัตรา รุ่งรัตน์, ชูลฟีกอร์ มาโซ และยุทธนา กาเด็ม. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถาน การณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 160-174.
Alderfer, C. P. (1972). Existence, relatedness, and growth: Human needs in organizational settings. New York: Free Press.
Pine, B. J., & Gilmore, J. H. (1999). The Experience Economy: Work is Theatre & Every Business a Stage. Boston, MA: Harvard Business Review Press.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15thed.). Pearson Education.
Defleur, M. L. (1970). Theories of Mass Communication (2nd ed.). New York: David McDay.
International Labour Organization & Organisation for Economic Co-operation and Development. (2020). The impact of the COVID-19 pandemic on jobs and incomes in G20 economies: Joint ILO-OECD Covid-19 report. prepared for the 3rd Employment Working Group (EWG) meeting under the Saudi G20 Presidency. ค้นเมื่อ 29 เมษายน 2565, จาก https://www.ilo.org/ publications/impact-covid-19- pandemic-jobs-and-incomes-g20-economies-0
World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) Situation Report 49. Retrieved April 1, 2022, from https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/ situation-reports/20200309-sitrep-49-covid-19
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.