การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทการค้าปลีกในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคอุตสาหกรรม การค้าปลีก 2) ศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมการตลาด การจัดการเชิงกลยุทธ์และการจัดการองค์ความรู้ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคอุตสาหกรรมการค้าปลีก และ 3) นำเสนอแนวทางการวางแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมการค้าปลีก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม จำนวน 400 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 17 ท่าน ได้แก่ ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคอุตสาหกรรม การค้าปลีก ได้แก่ ด้านส่วนประสมการตลาด ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ด้านการจัดการความรู้ และผลการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ 2) อิทธิพลของส่วนประสมการตลาด การจัดการเชิงกลยุทธ์และการจัดการองค์ความรู้ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคอุตสาหกรรมการค้าปลีก มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโรงพยาบาลในประเทศไทย ซึ่งค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดล และ 3) แนวทางการวางแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมการค้าปลีก พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงเชิงสาเหตุ มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจตัวแปรทั้งหมด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กฤษลักษณ์ ชุ่มดอกไพร. (2564). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด 7P's ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์การค้า ดองกิมอลล์ ทองหล่อ. (สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช และ บุญฑวรรณ วิงวอน. (2564). อิทธิพลของภาวะการเป็นผู้ประกอบการ การบูรณาการองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 304-328
นันทรัตน์ นามบุรี. (2561). โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ของไทย. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา น. 18-26
ปิ่นฤทัย สุธีรพงศ. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566ก). จำนวนผู้ประกอบการรวมตามนิยามใหม่. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2566 จาก https://cutt.ly/n4JLdLe
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566ข). หลักเกณฑ์การกำหนดขนาดของธุรกิจ SMEs. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566 จาก https://www.sme.go.th/th/cms.php?modulekey=118
Melián-González, S., & Bulchand-Gidumal, J. (2016). A model that connects information
technology and hotel performance. Tourism management, 53(C), 30-37.