ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ปัจจัยด้านความรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร 2) ปัจจัยด้านประสบการณ์จากการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร และ 3) ปัจจัยด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จำนวน 366 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่า Tolerance ค่า VIF (Variance Inflation Factor) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสบการณ์จากการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) จรรยาบรรณของผู้สอบภาษีอากรที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการสอบบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางบวก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมสรรพากร. (2566). ข่าวสารผลการทดสอบความรู้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จากhttps://www.rd.go.th/44733.html
กรมสรรพากร. (2565). กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จาก https://www.rd.go.th/2650.html
กรมสรรพากร. (2564). คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จาก https://www.rd.go.th/23527.html
ขวัญชัย ชมศิริ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์. (2561). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีปฏิบัติงานบัญชีสมัยใหม่, การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี, ความเชี่ยวชาญทางการบัญชีอย่างมืออาชีพที่มีต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิทยาการ
จัดการสมัยใหม่, 11(1), 17-34.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: บริษัท วี.อินเตอร์ พริ้นท์
ธิติสุดา เนียมคำ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทักษะทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต) คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ผกามาศ มูลวันดี, สุพัตรา รักการศิลป์ และเอมอร แสวงวโรตม์ (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของนักบัญชีที่คาดหวังและการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพข้อมูลทางบัญชีของนักบัญชี ในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 6(1), หน้า 28-44.
นฤนาถ ศราภัยวานิช, ตุลยา ตุลาดิลก และสุวรรณา เลาหวิสุทธิ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของนักศึกษาสาขาบัญชี ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 10(4), 168-182.
นาถพล ลอยลิบ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบในวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพงานสอบบัญชีตามเกณฑ์สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (สารนิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต), วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ. (2559). ความหมายและขอบเขตของการบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(35), 86-97.
ปุณยนุช คำหวาน. (2557). ผลกระทบของความรอบรู้ในการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(2), 142-152.
พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงศ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพที่ดีความน่าเชื่อในการสอบบัญชีและความสำเร็จ ในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วณิชฌา ผาอำนาจ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต) คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ลัดดาวัลย์ ยอดบัว. (2560). อิทธิพลของการควบคุมการสอบบัญชีและความเป็นมืออาชีพของผู้สอบบัญชีมีผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต) คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). มาตรฐานการสอบบัญชี ปี 2561. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566,
จาก https://acpro-std.tfac.or.th/standard/17/มาตรฐานการสอบบัญชี-ปี-2561
เอเอ็ม ออดิท กรุ๊ป. (ม.ป.ป). 12 หน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชี. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จาก
https://www.amauditgroup.com/th/ข่าวสาร/34-12-หน้าที่ของผู้ตรวจบัญชี.html
Choo, F. (1996). Auditors’ knowledge content and judgment performance: A cognitive script approach. Accounting, Organizations and Society, 21(4), 339–359.
Timothy G. K., Brian W. M., & L. Dwight, S. (2005). The Impact of Management Integrity on Audit Planning and Evidence. Auditing A Journal of Practice & Theory, 24(2), 49-67