เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

หลักเกณฑ์การเสนอบทความ

1. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย ยินดีรับพิจารณาต้นฉบับผลงานวิชาการที่เป็นบทความวิจัย (research article) บทความวิชาการที่ไม่ใช่งานวิจัย (non-research academic article) บทความปริทัศน์ (review article) และบทปริทัศน์หนังสือ (book review)

2. บทความที่จะเสนอตีพิมพ์ ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาไทย วรรณคดีไทย วรรณกรรมไทย คติชนวิทยา รวมทั้งสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา การเรียนการสอนภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย

3. บทความต้องเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หากผู้เขียนไม่ใช่เจ้าของภาษา บทความจะต้องผ่านการตรวจทานและแก้ไขภาษาจากผู้อ่านที่เป็นเจ้าของภาษาก่อนส่งบทความมายังกองบรรณาธิการ

4. บทความที่จะเสนอตีพิมพ์ ต้องไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการฉบับใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว

5. บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ จะได้รับการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (double-blind peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ   

6. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะต้องได้รับผลการประเมินผ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน และแก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะ

การจัดเตรียมต้นฉบับ

บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ต้องมีการจัดเตรียมต้นฉบับดังต่อไปนี้

1. เป็นบทความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ มีความยาวระหว่าง 30-50 หน้ากระดาษ A5 รวมบทคัดย่อและรายการอ้างอิง  โดยผู้เขียนจะต้องส่งไฟล์บทความทั้งที่เป็นไฟล์ Word  และไฟล์ Pdf 

2. บทความต้องระบุข้อมูลต่อไปนี้อย่างครบถ้วน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ได้แก่ ชื่อบทความ บทคัดย่อ คำสำคัญอย่างน้อย 3 คำ ชื่อผู้เขียน หน่วยงานต้นสังกัด และอีเมลของผู้เขียน

3. บทความต้องมีการอ้างอิงอย่างเคร่งครัดและถูกต้อง  

4. ตั้งหน้ากระดาษ A5 ขอบกระดาษด้านบน กว้าง 2.5 เซนติเมตร ขอบกระดาษด้านล่าง กว้าง 2.0 เซนติเมตร ขอบกระดาษด้านซ้ายและด้านขวา กว้าง 1.78 เซนติเมตร

5. การจัดเรียงหัวข้อในบทความ เริ่มจาก ชื่อเรื่องภาษาไทย ชื่อผู้เขียนภาษาไทยพร้อมเชิงอรรถระบุสังกัดและอีเมลติดต่อ (ใส่เชิงอรรถดอกจัน (*) ท้ายชื่อ) บทคัดย่อภาษาไทย ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษพร้อมเชิงอรรถระบุสังกัดและอีเมลติดต่อ (ใส่เชิงอรรถดอกจัน (*) ท้ายชื่อ) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของบทความ และรายการอ้างอิง

6. รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง กำหนดให้ใช้แบบอักษร Sarabun New ทั้งข้อความที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  หัวข้อต่าง ๆ ในบทความกำหนดให้ใช้ขนาดอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ดังนี้

6.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ใช้ขนาดอักษร 15 ตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ

6.2 ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ใช้ขนาดอักษร 14 ระบุชื่อผู้เขียนทุกคน ชื่อละบรรทัด จัดชิดขอบกระดาษด้านขวาใต้ชื่อเรื่อง เว้นบรรทัดด้านบนหนึ่งบรรทัด

6.3 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) หัวข้อใช้ขนาดอักษร 15 ตัวหนา เว้นบรรทัดด้านบนหนึ่งบรรทัด ส่วนเนื้อความของบทคัดย่อใช้ขนาดอักษร 14 ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ

6.4 เนื้อหาในบทความ

- หัวข้อใหญ่ใช้ขนาดอักษร 15 ตัวหนา ไม่ต้องกำกับตัวเลข จัดชิดขอบกระดาษด้านซ้าย แต่ละหัวข้อให้เว้นบรรทัดด้านบนหนึ่งบรรทัด

- หัวข้อย่อยใช้ขนาดอักษร 14 ตัวหนา กำกับหมายเลขไว้หน้าหัวข้อย่อย และเว้น 1.27 เซนติเมตร จากขอบกระดาษด้านซ้าย แต่ละหัวข้อให้เว้นบรรทัดด้านบนหนึ่งบรรทัด

- ข้อความปกติใช้ขนาดอักษร 14

- ข้อความอ้างอิงในเชิงอรรถ (ท้ายกระดาษแต่ละหน้า) ใช้ขนาดอักษร 13

6.5 รายการอ้างอิงท้ายบทความ หัวข้อใช้ขนาดอักษร 15 ตัวหน้า ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ  ส่วนรายการอ้างอิงใช้ขนาดอักษร 14 จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร และแยกรายการอ้างอิงภาษาไทยกับรายการอ้างอิงภาษาต่างประเทศ

6.6 การนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง (table) ต้องระบุหมายเลขของตาราง และชื่อของตาราไว้เหนือตารางนั้น โดยจัดข้อความกึ่งกลางหน้ากระดาษ ข้อความในตารางใช้ขนาดอักษร 14 หรือสามารถปรับขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับข้อมูลได้

6.7 การนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ (figure) ต้องระบุหมายเลขของรูปภาพ และชื่อของรูปภาพไว้ใต้รูปภาพนั้น โดยจัดข้อความกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใช้ขนาดอักษร 14

 

การอ้างอิงและการเขียนรายการอ้างอิง

1. การอ้างอิงภายในเนื้อความ ใช้ระบบการอ้างอิงแบบนาม-ปี (author-date in-text citation) ผู้เขียนผลงานอ้างอิงที่เป็นชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล ส่วนผู้เขียนผลงานที่เป็นชาวต่างประเทศให้ระบุเฉพาะนามสกุล  กรณีที่เป็นการอ้างอิงข้อความมาโดยตรง ให้ระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ของเอกสาร และเลขหน้าของเอกสารอ้างอิง  ส่วนกรณีที่เป็นการสรุปความมาจากเอกสารอ้างอิง ให้ระบุเฉพาะชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ของเอกสาร ดังตัวอย่าง

(เกียรติญา สายสนั่น, 2552, น. 2)

(Levinson, 1983, p. 316)

(Kragler, 2000, pp. 132-133)

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต (2562) เสนอว่า ...

 

2. การอ้างอิงท้ายบทความ (reference citation) ให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association) และให้จัดเรียงรายการเอกสารอ้างอิงตามลำดับอักษร โดยแยกรายการอ้างอิงภาษาไทยกับรายการอ้างอิงภาษาต่างประเทศ และตัวอย่างการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง มีดังนี้

            2.1 หนังสือ

สุจิตต์  วงษ์เทศ  (บ.ก.). (2542). ประชุมบทมโหรี. กรุงเทพฯ: ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).

อุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ), พระยา. (2548). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Comrie, B. (Ed.). (1990). Major languages of East and South-East Asia. London: Routledge.

Sperber, D., & Willson, D. (1986). Relevance: Communication and Cognition. Oxford: Basil Blackwell.

 

            2.2 บทความในวารสาร

ปิยะพร ปุณณกะศิริกุล และจเร สิงหโกวินท์. (2562). การวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในโฆษณาประกันบำนาญ. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 36(1), 67-106.

Stibbe, A. (2004). Health and the social construction of masculinity of Men’s Health Magazine.  Men and Masculinities, 7(1), 31-51.

 

            2.3 บทหรือบทความในหนังสือ

สายวรุณ น้อยนิมิต. (2549). มโนทัศน์สตรีนิยมในบทละครพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. ใน นวทัศน์วรรณคดีศึกษา (น. 103-151). นครปฐม: โครงการตำราและหนังสือคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hutomo, Suripan Sadi. (1994). Kedudukan ‘Syair Carang Kulina’ dari Bajarmasin dalam Cerita Panji.  In Bahasawan Cendekia: Seuntai Karangan untuk Anton M. Moeliono (pp. 464-473). Jakarta: PT Intermasa.

 

            2.4 บทความในหนังสือพิมพ์

สุทธิชัย หยุ่น. (2556, 12 เมษายน). เมื่อสังคมไทยมีคนเก่ง แต่ขาดคนดี. กรุงเทพธุรกิจ, น. 2.

Goodman, D.  (1997, March 20).  Pavilians of Sanam Chan Palace. The Sunday Postpp. 25-26.

 

          2.5 หนังสือแปล

เมนอน, ราเมศ. (2551). รามายณะ (วรดี วงศ์สง่า, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

Laplace, P.S. (1902). A philosophical essay on probabilities (F. W. Truscott, & F. L. Emory, Trans.). New York: J. Wiley & Sons.

 

          2.6 วิทยานิพนธ์

จุฬธิดา อภัยโรจน์. (2549). การศึกษาปริจเฉทรายการขายตรงสินค้าเครื่องสำอางทางโทรทัศน์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Nelson, M.A. (2000). Corpus-based study of business English and business English teaching materials (Doctoral dissertation). University of Manchester, Manchester.

 

         2.7 ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2561). อนาคต 15 ปี ค่าใช้จ่ายสุขภาพคนไทย. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562 จาก https://tdri.or.th/2018/01/healthcost/

Monier Williams Sanskrit-English Dictionary. (2008). Retrieved May 30, 2019, from http://www.sanskrit-lexicon.uni-koeln.de/monier/   

 

การส่งต้นฉบับ

   ผู้เขียนสามารถส่งบทความมาให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ ผ่านระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journal Online) ได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit

 

ขั้นตอนการพิจารณาบทความ

1. ผู้เขียนส่งต้นฉบับบทความมาเสนอตีพิมพ์ตามช่องทางที่กำหนด

2. กองบรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้องของบทความในเบื้องต้น ทั้งเนื้อหาและการจัดรูปแบบ

3. กองบรรณาธิการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นอ่านประเมินอย่างน้อย 3 คน

4. แจ้งผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนทราบ

5. บทความที่ได้รับผลการประเมินผ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งบทความฉบับแก้ไขกลับมาที่กองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนด

6. กองบรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้องของการแก้ไขบทความ และออกจดหมายตอบรับการตีพิมพ์

7. กองบรรณาธิการดำเนินการจัดทำและเผยแพร่วารสาร