การขยายความหมายของคำว่า “กัด” ในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ความหมายของคำว่า “กัด” ในภาษาไทย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางความหมายของคำว่า “กัด” โดยเก็บข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยสุ่มเลือกตัวอย่างข้อความที่มีคำว่า “กัด” ประกอบอยู่จำนวน 300 ข้อความ โดยศึกษาเฉพาะคำว่า “กัด” ที่เป็นคำมูลหรือคำเดี่ยว ผลการศึกษาพบว่า ความหมายของคำว่า “กัด” มี 9 ความหมาย ได้แก่ 1) เอาฟันกดไว้ไม่ให้หลุด 2) เอาฟันกดไว้ให้แน่น เป็นอาการแสดงถึงความอดกลั้น 3) เอาฟันกดให้ทะลุ ให้ฉีกขาด ให้เป็นแผล เพื่อทำร้าย ทำลาย กิน เป็นต้น 4) ต่อสู้กันโดยเอาฟันกดเพื่อทำร้ายอวัยวะของอีกฝ่ายที่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันให้เป็นแผล 5) นำสัตว์มาต่อสู้กันโดยเอาฟันกดเพื่อทำร้ายอวัยวะของอีกฝ่ายให้เป็นแผล ใช้เรียกเป็นชื่อการละเล่น 6) ทำให้เปื่อยเป็นแผล 7) ทำให้กร่อนสลายหรือจางลง 8) ทะเลาะวิวาท และ 9) พูดชวนทะเลาะวิวาท ความหมายของคำว่า “กัด” ทั้ง 9 ความหมาย จำแนกเป็นความหมายทางกายภาพซึ่งแสดงกิริยาอาการที่ใช้ฟัน ได้แก่ ความหมายที่ 1 ถึง 5 และความหมายเชิงเปรียบเกี่ยวกับการใช้ฟัน ได้แก่ ความหมายที่ 6 ถึง 9 ผลการวิเคราะห์ยังพบว่า ความหมายทั้ง 9 ความหมายของคำว่า “กัด” ล้วนสัมพันธ์กัน คำว่า “กัด” มีการขยายความหมายจากความหมายทางกายภาพซึ่งแสดงกิริยาอาการที่ใช้ฟันไปสู่ความหมายเชิงเปรียบเกี่ยวกับการใช้ฟัน ผ่านกระบวนการทางปริชาน ได้แก่ กระบวนการอุปลักษณ์ และกระบวนการนามนัย โดยจำแนกรูปแบบของกระบวนการขยายความหมายตามทฤษฎีคำหลายความหมาย 4 ประเภท (Four categories theory of polysemy) ของ Riemer (2005) ได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ อุปลักษณ์ที่ความหมายแก่น นามนัยแบบเน้นผลลัพธ์ นามนัยโดยอาศัยปริบท และนามนัยแบบเน้นส่วนประกอบย่อย
Article Details
References
ภาษาไทย
กาจบัณฑิต วงศ์ศรี. (2547). เครือข่ายความหมายของคำว่า ‘ออก’ ในภาษาไทย:
การศึกษาแนวอรรถศาสตร์ปริชาน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
จิรัชย์ หิรัญรัศ. (2550). การศึกษาความหมายของคำว่า ‘เอา’ ในภาษาไทย.
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
กรุงเทพฯ.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2538). การศึกษามโนทัศน์ของคำว่า เข้า. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต
สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ปริญญา วงษ์ตะวัน. (2552). การกลายเป็นอัตวิสัยของคำกริยา “เห็น” ในภาษาไทย.
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
กรุงเทพฯ.
ปริญญา วงษ์ตะวัน. (2559). การบ่งชี้แหล่งที่มาของข้อมูลที่แสดงผ่านอายตนกริยา
ในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ภัทรา พิเชษฐศิลป์. (2556). มโนทัศน์ของ “XIN” ในภาษาจีนและ “ใจ” ในภาษาไทย:
การศึกษาตามแนวทางอรรถศาสตร์ปริชาน. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขา
ภาษาจีน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร. (2549). การขยายความหมายของคำกริยาแสดงการรับรู้ด้วยตา
ในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ศุภชัย ต๊ะวิชัย. (2557). มโนทัศน์พื้นที่ในภาษาไทย: กรณีศึกษาคำว่า “หลัง” ที่ปรากฏ
ในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(1), 131-148.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป)
ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
โสภาวรรณ แสงไชย. (2537). กริยารอง ขึ้น และ ลง ในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ภาษาต่างประเทศ
Geeraerts, D. (1993). Vagueness’s puzzles, polysemy’s vagaries. Cognitive
Linguistics. 4(3), 223-272.
Kövecses, Z. (2002). Metaphor: A practical introduction. New York: Oxford
University Press.
Lakoff, G. and M. Johnson. (1980). Metaphors we live by. Chicago: University
of Chicago Press.
Taylor, J. (1995). Linguistics categorization: Prototypes in linguistic theory.
nd ed. New York: Oxford University Press.