นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนแบบมืดของปราปต์ กลวิธีการสร้างโครงเรื่องกับการนำเสนอตัวละครชายขอบ

Main Article Content

ณัฐรุจา ใจหาร
ธัญชนก เรืองเสน
ศุภณัฐ อนุพจน์มนตรี
ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอโครงเรื่อง และกลวิธีการนำเสนอตัวละครชายขอบในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนแบบมืดของปราปต์ จำนวน 4 เรื่อง คือ กาหลมหรทึก นิราศมหรรณพ เปรต และลิงพาดกลอน ผลการศึกษาพบว่า แม้นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนแบบมืดของปราปต์ดำเนินเรื่องตามขนบของนวนิยายแนวนี้ แต่มีลักษณะโต้ขนบในการจบเรื่องแบบปลายเปิด โดยตัวละครผู้กระทำผิดมิได้ถูกลงโทษตามกฎหมายหรือพบกับความตาย ด้านกลวิธีการนำเสนอตัวละครในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนแบบมืดของปราปต์ พบว่านวนิยายของปราปต์มีความโดดเด่นด้านการนำเสนอตัวละครชายขอบผ่าน 2 กลวิธี ประการแรก คือ กลวิธีการนำเสนอคู่ตรงข้าม ทั้งด้านสถานะทางสังคมและด้านความคิดให้กับตัวละครชายขอบ และประการที่สอง คือ กลวิธีการนำเสนอบทบาทใหม่ให้กับตัวละครชายขอบแทนที่จะนำเสนอภาพเหมารวมด้านลบที่สังคมสร้างให้ กล่าวได้ว่า รูปแบบการสร้างโครงเรื่องและกลวิธีการนำเสนอตัวละครดังกล่าวในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนแบบมืดของปราปต์ นับเป็นจุดเด่นที่มิได้เพียงสร้างความสนุกสนานน่าติดตามจากความซับซ้อนของการสร้างเรื่องราวเท่านั้น แต่ยังนำเสนอสารเกี่ยวกับกลุ่มคน
ที่ถูกกดทับในสังคมไทยร่วมสมัยไปพร้อมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐรุจา ใจหาร, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย

ธัญชนก เรืองเสน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย 

ศุภณัฐ อนุพจน์มนตรี, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย

ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย

References

ภาษาไทย

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2558). อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อ่าน.

ถนอมนวล หิรัญเทพ. (2551). วาทกรรมความพิการในเรื่องเล่าสมัยใหม่ของไทย.(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธงชัย แซ่เจี่ย. (2560). การเล่าเรื่องแบบหลังสมัยใหม่ใน นิราศมหรรณพของปราปต์. ในบทความนำเสนอการประชุมวิชาการระดับชาติ “มศว วิจัย” ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธงชัย แซ่เจี่ย. (2562). จากกาหลมหรทึก สู่ ลิงพาดกลอน: จักรวาลคู่ขนานกับ

การฉวยใช้วัฒนธรรมวายของนักเขียน. ใน บทความนำเสนอการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตรและบริหารธุรกิจ, สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธรณินทร์ มีเพียร. (2542). นวนิยายสืบสวนในทรรศนะของซเวทาน โตโดรอฟ. วารสารอักษรศาสตร์, 28(1), 90-111.

ธัญญารักษ์ ฉบับแบบ และคณะ. (2562). การประยุกต์ใช้ข้อมูลคติชนเรื่องตำนานผีไทยในการสร้างสรรค์ นวนิยายชุดผีมหานคร. ใน บทความนำเสนอการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปราปต์. (2561ก). กาหลมหรทึก (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่ง.

ปราปต์. (2561ข). นิราศมหรรณพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่ง.

ปราปต์. (2561ค). เปรต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โซฟาพับลิชชิ่ง.

ปราปต์. (2561ง). ลิงพาดกลอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่ง.

ปาริฉัตร ภูพันธ์. (2553). อาชญนิยายไทย พ.ศ. 2541 – 2550. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 5(10), 53-65.

เพ็ญวิษา วัฒนปรีชานนท์. (2550). กลวิธีการประพันธ์ในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนของกิ่งฉัตร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

แพร ปุโรทกานนท์ และสราญรัตน์ ไว้เกียรติ. (2561). กาหลมหรทึก: ทำความรู้จัก“ปราปต์”ผู้เขียนนิยายสืบสวนสอบสวนที่เขย่าวงการวรรณกรรมไทย.

สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564 จาก https://thestandard.co/prapt-chairat-pipitpatanaprapt/

ยุวพาส์ (ประทีปะเสน) ชัยศิลป์วัฒนา. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดี.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2563). The spatial turn: วิธีวิทยาการศึกษาพื้นที่ในวรรณกรรม.

ใน นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม (น. 120-181). กรุงเทพฯ: ศยาม.

สุริชัย หวันแก้ว. (2550). คนชายขอบ: จากความคิดสู่ความจริง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิษฐาน กาญจนะพงศ์. (2562). เปรต พญานาค ชนกลุ่มน้อย ชนชั้นและภาพสะท้อนสังคมไทยผ่านนวนิยายของปราปต์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564 จาก https://thestandard.co/novel-of-prapt/

อลิสา สันตสมบัติ. (2552). ความจริง อัตลักษณ์ เรื่องเล่า และเขาวงกต: การแสวงหาแบบหลังสมัยใหม่ในนวนิยายโต้ขนบสืบสวนสอบสวน. (วิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อังคณา สุขวิเศษ. (2544). นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน: อิทธิพลของชุดชอร์ลอคโฮล์มส์ที่มีต่อชุดปัวโรต์และนิทานทองอิน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ภาษาต่างประเทศ

Harrison, R. (2009). “Elementary, My Dear Wat”: Influence and Imitation in the Early Crime Fiction of ‘Late-Victorian’ Siam. In Chewing Over the West: Occidental Narratives in Non-Western Readings (pp. 303-348). Amsterdam and New York: Rodopi.

Lim, S. (2012). Detective Fiction, the Police and Secrecy in Early Twentieth Century Siam. South East Asia Research, 20(1), 83-102.

Chotiudompant, S. (2017). World Detective Form and Thai Crime Fiction. In Crime fiction as world literature (pp. 197-211). New York: Bloomsbury Academic.

Chaochuti, T. (2009). “The Murderer of Bangkhunphrom”: The Semi- Colonial Siam and its Early Literary Adaptations. Manusya: Journal of Humanities, 12(4), 30-41.