อิทธิพลของกามนิตและลิลิตพระลอ ในนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณของพนมเทียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
จุฬาตรีคูณเป็นนวนิยายเรื่องที่สองในชีวิตการประพันธ์ของพนมเทียน ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2540 โดยได้รับอิทธิพลจากนวนิยายแปลพุทธศาสนาเรื่องกามนิต นอกจากนั้น ยังปรากฏอิทธิพลของวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลออีกด้วย บทความเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาอิทธิพลของกามนิตและลิลิตพระลอในนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายแปลเรื่องกามนิต มีอิทธิพลต่อนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ ในด้านที่มาของชื่อเรื่อง ฉากและบรรยากาศของเรื่อง กลวิธีการเล่าเรื่องและลีลาการประพันธ์ ส่วนลิลิตพระลอมีอิทธิพลต่อนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณในด้านโครงเรื่องหลักที่เป็นเรื่องโศกนาฏกรรมความรักที่จบลงด้วยความตายของตัวละครเอก การใช้อนุภาคสำคัญที่เห็นได้ว่าตรงกันหลายอย่าง เช่น การปลอมตัวเข้าไปดินแดนศัตรูของตัวละครเอก การเสี่ยงน้ำ รวมถึงรายละเอียดบางอย่างที่อิงจากตัวบทวรรณคดีไทยทั้งสองเรื่อง อิทธิพลเหล่านี้พนมเทียนได้นำมาผสมผสานกันในจุฬาตรีคูณได้อย่างลงตัว ทำให้ นวนิยายเรื่องนี้มีลีลาการประพันธ์แบบวรรณคดีโบราณ ประกอบกับได้มีการนำเนื้อหาของนวนิยายเรื่องนี้ไปสร้างสรรค์เป็นบทละครซึ่งมีบทขับร้องเพลงไทยสากลประกอบเรื่องที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมมาตลอดระยะเวลายาวนาน จุฬาตรีคูณจึงยังทรงคุณค่าในฐานะวรรณกรรมชิ้นเอกเรื่องหนึ่งของพนมเทียนมาจนกระทั่งทุกวันนี้
Article Details
References
จินตนา ปรีชาศิลป์. (2530). วิเคราะห์จินตนิยายของพนมเทียน. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, พิษณุโลก.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2559). “ลิลิตพระลอ: ความสำคัญในโลกวรรณศิลป์ไทย”. ใน ทีทรรศน์ลิลิตพระลอ. (น.11 – 66). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ชุมสาย สุวรรณชมภู. (2551). การเสี่ยงทายในวรรณคดีไทย: เสี่ยงน้ำ เสี่ยงลูก และเสี่ยงเทียน. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 30(1), 80 – 95.
ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2546). ส่องลิลิตพระลอ พินิจขุนช้างขุนแผน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก.
นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อ่าน.
นันท์นภัส พิมพะนิตย์. (2553). กลวิธีการนำเสนอและมุมมองทางสังคมในนวนิยายรักของพนมเทียน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 2) (แก้ไขเพิ่มเติม).(2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
พนมเทียน (ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ). (2528). จุฬาตรีคูณ. กรุงเทพฯ: หรรษา.
พนมเทียน (ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ). (2557). ก่อนเทียนจะถึงไฟ. กรุงเทพฯ: คเณศบุรี.
พนมเทียนเล่าความหลังจุฬาตรีคูณ. (2564). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564 จาก
https://mgronline.com/drama/detail/9630000045469.
พรนภา ไทยสิทธิ. (2550). ลีลาการใช้ภาษาในนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2553). ศิวา – ราตรี สงครามกู้ชาติเพื่อรวมชาติ. ใน สืบสานสร้างสรรค์วรรณศิลป์ (น.159 – 183). กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
ลำเพา เพ่งวรรณ (นามแฝง). (2564). นิยายพาฝันใช่จะไร้ค่า จุฬาตรีคูณ: ความรักคืออะไร. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564 จาก
http://yothainovel.blogspot.com/2006/10/blog-post.html
วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 1. (2540). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร.
ส.พลายน้อย (สมบัติ พลายน้อย). (2544). พระคงคา. ใน อมนุษย์นิยาย (พิมพ์ครั้งที่ 3) (น. 193 – 202). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
สริญญา คงวัฒน์. (2545). วิเคราะห์ภาพสะท้อนเชิงพรานในนวนิยายเพชรพระอุมา ของพนมเทียน. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2551). การเดินทางของปัญญาและจินตนาการใน กามนิต ของ เสฐียรโกเศศ – นาคะประทีป. วารสารอักษรศาสตร์, ฉบับพิเศษ, 1 – 28.
สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา (2541). นวนิยายแนวผจญภัย: จากคิง โซโลมอนส์ ไมนส์ ล่องไพร ถึงเพชรพระอุมา (ภาคหนึ่ง). (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เสฐียรโกเศศ – นาคะประทีป (พระยาอนุมานราชธน และ พระสารประเสริฐ). (2534). กามนิต วาสิฎฐี. กรุงเทพฯ: ศยาม.