ความเทียบเท่าในการแปลคำว่า ទៅ /tɨv/ ‘ไป’ และ មក /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมรเป็นภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเทียบเท่าในการแปลคำว่า ទៅ /tɨv/ ‘ไป’ และ មក /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมรปัจจุบันเป็นภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากนวนิยายภาษาเขมรจำนวน 2 เรื่อง ซึ่งเผยแพร่ใน ค.ศ. 1938 และ 2006 และสำนวนแปลภาษาไทยของนวนิยายทั้งสอง ผลการศึกษาพบว่าสำนวนแปลภาษาไทยของคำว่า ទៅ /tɨv/ ‘ไป’ และ មក /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมร มี 3 ลักษณะ คือ 1) สามารถแปลเป็นคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยได้อย่างเทียบเท่า 2) สามารถแปลเป็นคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยได้ แต่ต้องปรับรูปแบบทางวากยสัมพันธ์ และ 3) ไม่สามารถแปลเป็นคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยได้ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ทำให้แปลได้อย่างเทียบเท่า พบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัย คือ 1) การเรียงลำดับคำในประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรมในภาษาเขมรและภาษาไทย 2) การเป็นภาษาคำโดดของภาษาเขมรและภาษาไทย และ 3) การมีหน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาเขมรและภาษาไทย ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่เทียบเท่าในการแปล คือ การกลายเป็นคำไวยากรณ์ที่ไม่เท่ากันระหว่างภาษาเขมรและภาษาไทย
Article Details
References
ภาษาไทย
กฤตกร สารกิจ, ใกล้รุ่ง อามระดิษ และวิภาส โพธิแพทย์. (2563). รูปแบบทางวากยสัมพันธ์และความหมายของคำว่า ទៅ /tɨv/ ‘ไป’ และ មក /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมร. ภาษาและภาษาศาสตร์. 38(2), 38 - 60.
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2559). Grammaticalization กระบวนการกลายเป็นรูป ไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คงค์ บุนเฌือน. (2557). โพยมพยับหมอก. (ชาญชัย คงเพียร ธรรม, บรรณาธิการแปล). อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2557). ความหลากหลายและความหลอมรวมทางภาษาใน ประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน. เอเชียปริทัศน์. 35(1), 1-28.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
ริม คิน. (2550). สูผาด (ประยูร ทรงศิลป์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: พิศิษฐ์การพิมพ์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1965).
วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2552). ทฤษฎีและหลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2553). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2 : คำ การสร้างคำ และการยืมคำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
วัลยา วิวัฒน์ศร. (2557). การแปลวรรณกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
อรวรรณ บุญยฤทธิ์. (2562). ระบบเสียงและไวยากรณ์ภาษาไทยและภาษาเขมร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาษาต่างประเทศ
Amratisha, Klairung. (2009). Rim Kin. Southeast Asian Writers: Dictionary of Literary Biography Volume 384. New York: Gale Cengage Learning.
Clark, Marybeth. (1992). Serialization in Mainland Southeast Asia. Pan – Asiatic Linguistic. Proceedings of the 3rd International Symposium on Language and Linguistics, vol. 1. (P. 145 - 160). Chulalongkorn University, Bangkok, January 8 – 10.
Headley, Robert K. and Chim, Rath. and Soeum, Ok. (1997). Modern Cambodian-English Dictionary. Kensington, Md: Dunwoody Press.
Newmark, Peter. (1988). A Textbook of Translation. London: Prentice Hall.
Nida, Eugene and Taber, Charles. (2003). The Theory and Practice of Translation. Boston: Brill.
Wilkins, David P. and Hill, Deborah. 1995. When “go” means “come”: Questioning the basicness of basic motion verbs. Cognitive Linguistics (includes Cognitive Linguistic Bibliography). 6 (2 - 3): 209 – 259.
Reiss, Katarina. (2000). Translation Criticism – the Potentials and Limitations. Manchester: St.Jerome Publishing.
គង្គ ប៊ុនឈឿន. (2006). មេឃចុះអ័ប្ប. ភ្នំពេញ: បណ្ណាល័យឆពណ្ណរង្សី.
រីម គីន. (1965). សូផាត (បោះពុម្ពលើកទី 12). ភ្នំពេញ: គ្រឺះស្ថានបោះពុម្ពនិងចែកផ្សាយនៃក្រសួងអប់រំ យុវជន និងកីឡា.