การวิเคราะห์คำบอกบุรุษในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน: การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์สังคม

Main Article Content

เยว่ หู

บทคัดย่อ

   บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้คำบอกบุรุษในบทสนทนาภาษาไทยในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีนตามแนวภาษาศาสตร์สังคม ผลการวิจัยพบว่า ในบทสนทนาที่พบในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีนได้นำเสนอคำบอกบุรุษภาษาไทยที่ใช้บ่อยไว้หลากหลาย มีทั้งคำบอกบุรุษที่ 1 คำบอกบุรุษที่ 2 และคำบอกบุรุษที่ 3 คำบอกบุรุษที่ 1 ที่พบในแบบเรียน ได้แก่ ผม ดิฉัน ฉัน หนู เรา ชื่อเล่น/ชื่อ คำเรียกญาติ และคำเรียกอาชีพ คำบอกบุรุษที่ 2 ที่พบในแบบเรียน ได้แก่ คุณ เธอ หนู นาย ชื่อเล่น/ชื่อ คำเรียกญาติ และคำเรียกอาชีพ คำบอกบุรุษที่ 3 ที่พบในแบบเรียน ได้แก่ เขา ท่าน แก ชื่อเล่น/ชื่อ คำเรียกญาติ คำเรียกอาชีพ ปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวกับคู่สนทนาในบทสนทนาต่าง ๆ มีความหลากหลาย รวมถึงปัจจัยด้านอายุ เพศ สถานภาพของคู่สนทนา ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สนทนา และสถานการณ์ของบทสนทนาส่งผลให้ผู้เรียนเห็นการใช้คำบอกบุรุษในภาษาไทยตามบริบททางสังคมที่แตกต่างกันได้ ทั้งนี้ การเลือกใช้คำบอกบุรุษในบทสนทนาต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีความถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ยังพบการเลือกใช้คำบอกบุรุษที่ไม่เหมาะสมบางประการ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้เรียนพบอุปสรรคในการปฏิสัมพันธ์จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

จรัสศรี จิรภาส. (2562). “ศึกษาไทย” และ “ไทยศึกษา” ในประเทศจีน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 38(2), 94-118.

ฉินหยู่ เหวิน. (2556). ปัญหาการใช้บุรุษสรรพนามของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยตามแนวทางภาษาศาสตร์สังคม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นววรรณ พันธุเมธา. (2554). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์.

สมชาย สำเนียงงาม. (2552). คำแทนตัวผู้พูดในบทพูดเดี่ยวของผู้พูดต่างเพศ. วารสารอักษรศาสตร์, 31(2), 7-25.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอมอร ตรูวิเชียร. (2531). ภาษาศาสตร์เชิงสังคม. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาษาต่างประเทศ

Brown, R & Gilman, A. (1968). The Pronouns of Power and Solidarity. In Style in Language. T.A. Sebeok (pp. 253-276). Cambridge, MA: MIT Press.

Palakornkul, A. (1972). A Sociolinguistics Study of Pronominal Strategy in Spoken Bangkok Thai (Doctoral dissertation). University of Texas at Austin, Austin.