ค้างคาวดูดเลือด สายพันธุ์ต่างถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในนวนิยายเรื่อง พันธะรัตติกาล ของ นันทนา วีระชน

Main Article Content

อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติผ่านการนำเสนอตัวละครค้างคาวดูดเลือด ในนวนิยายเรื่อง พันธะรัตติกาล บทประพันธ์ของ นันทนา วีระชน โดยใช้แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศเป็นกรอบหลักในการวิเคราะห์ การศึกษาแบ่งเป็น 2 ประเด็นดังนี้ 1) ค้างคาวดูดเลือด: สัตว์ลึกลับและสัตว์ร้าย 2) มนุษย์ผู้มีพันธุกรรมค้างคาวดูดเลือด: ชาติพันธุ์อื่นผู้แปลกปลอม ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทสร้างให้ค้างคาวดูดเลือดเป็นสายพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย การเป็นสายพันธุ์ต่างถิ่นนี้เองทำให้ค้างคาวดูดเลือดเป็นสัตว์ลึกลับ เข้าถึงยาก และเมื่อค้างคาวดูดเลือดปรากฏตัวทำให้มนุษย์หวาดกลัวความดุร้ายของมัน นอกจากนั้นยังพบว่าตัวบทเสนอให้พันธุกรรมค้างคาวดูดเลือดสามารถเข้ามาในร่างกายของมนุษย์ได้ ทำให้มนุษย์ที่มีพันธุกรรมของสัตว์ดังกล่าวเป็นภาพแทนมนุษย์แปลกประหลาด เป็นอื่นจากมนุษย์ปกติ อย่างไรก็ตามตัวบทไม่ได้นำเสนอความน่ากลัวของมนุษย์ที่มีพันธุกรรมค้างคาวดูดเลือด แต่กลับสร้างให้ตัวละครดังกล่าวน่าเวทนาในชะตากรรม โดยสรุปแล้ว พันธะรัตติกาล นำเสนอภาพค้างคาวดูดเลือดในฐานะสายพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาคุกคามมนุษย์ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในมิติที่มนุษย์ยอมจำนนต่อธรรมชาติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

References

ภาษาไทย

แคมแบลล์, ซี. (2558). ปรักปรำศาสตร์ (อลิสา สันตสมบัติ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: มติชน.(ต้นฉบับพิมพ์ปี 1977).

ฉวีวรรณ หุตะเจริญ. (2539). ผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นต่อความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้. ใน รายงานการประชุมวิชาการ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย (น. 70-80). กรุงเทพฯ: ฝ่ายทรัพยากรชีวภาพ กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม.

ดารินทร์ ประดิษฐ์ทัศนีย์. (2559). รื้อสร้างมายาคติเบื้องหลังความอหังการของ “มนุษย์” ใน Ishmael: An Adventure of the Mind and Spirit ของ แดเนียล ควินน์. ใน พินิจปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านมุมมองวรรณกรรมอเมริกันร่วมสมัย (น. 39-94). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556ก). ผู้หญิงยิงเรือ: ผู้หญิง ธรรมชาติ อำนาจ และวัฒนธรรมกำหนด สตรีนิยมเชิงนิเวศในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: นาคร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556ข). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: นาคร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2560). ใช่เพียงเดรัจฉาน: สัตวศึกษาในมุมมองของการวิจารณ์เชิงนิเวศ ใน ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ: ทัศนะของนักวิชาการไทย (น. 328-407). กรุงเทพฯ: คบไฟ.

นันทนา วีระชน. (2558). พันธะรัตติกาล. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร

ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช. (2563). อคติทางชาติพันธ์ุต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในสังคมไทยที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์เว็บบอร์ดพันทิป. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 15(1), 26-47.

พงศ์เทพ สุวรรณวารี. (2558). การสำรวจชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในพื้นที่เกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียงจังหวัดตราด (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

พงศ์วรุตม์ ธีระวัฒน์. (2564). แนวทางการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน กรณีศึกษาปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (รายงานการค้นคว้าอิสระ สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พิสิฐ ณ พัทลุง. (2539). ผลกระทบชนิดพันธุ์ต่างถิ่น. ใน รายงานการประชุมวิชาการ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย (น. 64-67). กรุงเทพฯ: ฝ่ายทรัพยากรชีวภาพ กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม.

มิ่ง ปัญหา. (2558). Dracula: โอษฐภาวะและความเป็นสัตว์ในพื้นที่เมือง. ใน ดิน น้ำ ลม ไฟ: ธาตุ จักรวาล พิษภัย จากมุมมองมนุษยศาสตร์ (น. 203-252). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. (2556). พืชต่างถิ่นรุกรานในพื้นที่เขตอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: ส่วนความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

สุภางค์ จันทวานิช. (2555). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร. (2562). ภาพแทนและการประกอบสร้างความจริงเรื่องธรรมชาติในนวนิยายแนวจินตนิมิตของไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อันดามัน พีรานนท์. (2561). กระบวนการรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงความหมายของการนำเสนอภาพผีแวมไพร์ในภาพยนตร์ ซีรีส์ และนิยายออนไลน์ (รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล ปริญญาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู. (2560). จาก "โซ๊ด" สู่ "สะวิง": อัสดงคตนิยมกับการเมืองของการแปลทางวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่. ใน รัฐศาสตร์สาร (น. 73-130). กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู. (2562). ผัสสศึกษาและผัสสวิจารณ์: พัฒนาการ แนวคิดทฤษฎี และวิธีวิทยา. ใน นววิถี วิธีร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม (น. 235-322). กรุงเทพฯ: สยามปัญญา.

ภาษาต่างประเทศ

Buell, L. & Ursula, K. H. & Thornber, K. others. (2011). Literature and Environment. Annu. Rev. Environ. Resource, 36, 417–440.

Emmanuel, N. (2015). Eurocentrism and the African Frora and Fauna: An Ecocritical Discourse of Obinkarm Echewa’s The Land’s Lord European Journal of English Language. Linguistic and Literature, 2(1), 32–42.

Feder, H. (2010). “A blot upon the earth”: Nature’s “Negative” and the Production of Monstrosity in Frankenstein. Journal of Ecocriticism, 2(1), 55–66.

Glottfelty, C. (1996). The Ecocriticism Reader: Landmarks in Literary Ecology. Athens: University of Georgia Press.

Murphy, P. D. (2009). Ecocritical Explorations in Literary and Cultural Studies: Fences, Boundaries, and Field. New York and Toronto: Lexington Books.