วิธีคิดและบทบาทในการนำเรื่องคันธนามไปใช้ประกอบพิธีกรรมในชุมชนอีสาน

Main Article Content

ปฏิวัติ มาพบ
ปรมินท์ จารุวร

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการนำเรื่องคันธนามไปใช้ประกอบพิธีกรรมในชุมชนอีสาน มุ่งวิเคราะห์วิธีคิดและบทบาทโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีทางคติชนวิทยา โดยเก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างปี พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2565 ผลการศึกษาพบว่า มี 4 ประเพณี ที่นำเรื่องคันธนามไปใช้ประกอบพิธีกรรมในชุมชนอีสาน ได้แก่ ประเพณีบวงสรวง พระธาตุสีดา บุญสรงกู่บูชาท้าวคันธนาม บุญชาวเมือง และบุญเบิกบ้านบวงสรวง เจ้าปู่คัทธนาม ประเพณีเหล่านี้นำเรื่องดังกล่าวไปใช้เป็นรูปเคารพ เครื่องประกอบพิธีกรรม และบทอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การนำไปใช้ดังกล่าวสอดคล้องกับเรื่องคันธนาม ที่อธิบายภูมินามในแต่ละชุมชน ซึ่งสัมพันธ์กับเหตุการณ์และอนุภาคที่แตกต่างกัน สะท้อนวิธีคิดในการสืบทอดความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องคันธนามที่มีมาแต่เดิม และการเลือกบทบาทที่ตัวละครมีในเรื่องมาสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม ทั้งยังมีบทบาทสำคัญ ในการสืบทอดพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านและพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวในบริบทสังคมปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปฏิวัติ มาพบ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์

ปรมินท์ จารุวร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์

References

ภาษาไทย

ธวัช ปุณโณทก. (2522). วรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญชู ภูศรี. (2560). การประกอบสร้างและพลวัตประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากภายใน: กรณีอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารใบลาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2), 19-41.

พจนี เพ็งเปลี่ยน. (2542). ท้าวคัชนาม: วรรณกรรมนิทาน. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 5 (น. 1607-1616). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์

รัตนพล ชื่นค้า, ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์ และ สุกัญญา สุจฉายา. (2564). ความหมายและบทบาทของพิธีกรรมการนับถือตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ในชุมชนบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(2), 121–142.

วีณา วีสเพ็ญ (บรรณาธิการ). (2562). คัชชนาม: วรรณกรรมสองฝั่งโขง. มหาสารคาม: กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิราพร ณ ถลาง. (2545). ชนชาติไทยในนิทาน: แลลอดแว่นคติชนและวรรณกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน – นิทานพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ณ ถลาง. (2562). “คติชนสร้างสรรค์” บทสังเคราะห์และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุกัญญา สุจฉายา. (2556). วรรณกรรมมุขปาฐะ. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา สุจฉายา. (2565). ท้าวคัชชนาม: ต้นวงศ์จำปานครของชาวลาวลุ่มน้ำโขง. วารสารเมืองโบราณ, 48(1), 81-89.

สุทธินันท์ ศรีอ่อน. (2560). พระโพธิสัตว์ในชาดกพื้นบ้านอีสาน: ภาพตัวแทน

และการประกอบสร้างทางวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อัมพร นามเหลา. (2529). ท้าวคัทธนาม: ตำนานแห่งชื่อบ้านนามเมือง และสถานที่ต่างๆ ของท้องถิ่นอีสาน. นครราชสีมา: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา วิทยาลัยครูนครราชสีมา.

ภาษาต่างประเทศ

Nonsuwan, A. & Hongsuwan. P. (2011). The identity of the Hero in Lao Myths. Journal of Mekong Societies, 7(2), 109–128.