ปัญหาการตีความคำว่า “กระทำชำเรา” ตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย

Main Article Content

รองศาสตราจารย์อัจฉรียา ชูตินันทน์

บทคัดย่อ

          นิยามความหมายคำว่า “กระทำชำเรา” ตามมาตรา ๑ (๑๘) แห่งประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยยังไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งมีความแตกต่างกันในทางเพศ เพราะการกระทำชำเรายังคงหมายถึงการใช้องคชาตของผู้กระทำล่วงล้ำเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมถึงเหยื่อที่ถูกบังคับให้ใช้อวัยวะเพศของตนล่วงล้ำอวัยวะเพศ หรือรูทวารหนักหรือช่องปากของผู้กระทำในลักษณะเดียวกัน ประกอบกับการบัญญัติกฎหมายยังไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการอันก้าวไกลของเทคโนโลยีทางการแพทย์โดยเฉพาะการยอมรับเรื่องการการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่สมควรได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในทางเพศก็ตาม จึงส่งผลให้เกิดปัญหาการตีความคำว่า “กระทำชำเรา” เป็นหลายนัย ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรนิยามความหมายคำว่า “กระทำชำเรา” ให้ครอบคลุมถึงเหยื่อที่มีความแตกต่างกันในทางเพศตามที่กำเนิดมาหรือเพศที่เลือกในภายหลังที่ถูกกระทำในลักษณะเดียวกันให้ได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันและสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดในทุกเพศได้อย่างเท่าเทียมดุจเดียวกันด้วย อันเป็นหลักประกันของความชัดเจนแน่นอนในกฎหมายอาญา

Article Details

บท
บทความ

References

ภาษาไทย

กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ (ร.ศ. ๑๒๗, ๑ มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๕ ฉบับพิเศษ. หน้า ๒๖๐.

กรมองค์การระหว่างประเทศ. (๒๕๕๑). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. กระทรวงการต่างประเทศ.

กรรภิรมย์ โกมลารชุน. (๒๕๖๔). ความผิดเกี่ยวกับเพศตามกฎหมายเยอรมนี : การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในรอบ ๕๐ ปี. การบรรยายวิชาสัมมนากฎหมายอาญา, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กุลพล พลวัน. (๒๕๓๘). พัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน (พิมพ์ครั้งที่ ๓). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (๒๕๕๑). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ ๑๐). สำนักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง ประเทศไทย.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (๒๕๖๒). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค ๑ เล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๑). สำนักพิมพ์กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

คณพล จันทน์หอม. (๒๕๖๓). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ ๒). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (๒๕๕๙). กฎหมายอาญาภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ ๑๑). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (๒๕๖๓). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ ๗). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

จิตติ ติงศภัทิย์. (๒๕๕๕). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๑ ตอน ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๑). สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (๒๕๖๐). ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอ้างอิง (พิมพ์ครั้งที่ ๓๗). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (๒๕๖๒). การกระทําชําเราตามกฏหมายที่แก้ไขใหม่ ยังคงให้ข่มขืนเมียเด็กได้. ใน อานนท์ มาเม้า และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บ.ก.), ๖๐ ปี อุดม รัฐอมฤต ชีวิตและมิตรภาพบนเส้นทางวิชาการ. โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (๒๕๖๔). ประมวลกฎหมายอาญาฉบับอ้างอิง (พิมพ์ครั้งที่ ๔๕). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (๒๕๑๑). การปฏิรูปกฎหมายและการศาลในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร และ วิชา มหาคุณ. (๒๕๒๓). การตีความกฎหมาย. สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (๒๕๔๑). หลักประกันสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐. วารสารกฎหมายปกครอง. ๑๗, ๓๐.

ปกป้อง ศรีสนิท. (๒๕๕๙). กฎหมายอาญาชั้นสูง. สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ประมวลกฎหมายอาญา (๒๔๙๙, ๑๕ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับพิเศษ). เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๙๕. หน้า ๑-๑๑๔.

พระราชกำหนดลักษณข่มขืนล่วงประเวณี ร.ศ. ๑๑๘. (ร.ศ. ๑๑๘, ๙ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๖. หน้า ๑๖.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๕๐. (๒๕๕๐, ๑๙ กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๕๖ ก. หน้า ๑.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๖๒. (๒๕๖๒, ๒๗ พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก. หน้า ๑๒๗.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐. (๒๕๖๐, ๖ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก.

สำนักงานส่งเสริมความเสมอภาคชายหญิง. (๒๕๕๑). เอกสารเผยแพร่ความรู้ความหมายของสิทธิมนุษยชนสตรี. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (๒๕๕๘). วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาด้วยหลักกฎหมายอาญาเยอรมัน. ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญรัฐการพิมพ์.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (๒๕๖๓). พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะบางประการ. ดุลพาห, ๖๗(๓), ๑-๑๖.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (๒๕๖๓). จำเลยอมอวัยวะเพศชายของผู้เสียหายเป็นความผิดอาญาฐานอนาจารโดยการล่วงล้ำหรือเป็นความผิดฐานอนาจารธรรมดา. บทบัณฑิตย์, ๗๖(๑), ๒๖๕-๒๙๐.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (๒๕๖๐). ประมวลกฎหมายอาญาฉบับหัวเรื่องเรียงมาตรา (พิมพ์ครั้งที่ ๘). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

อัจฉรียา ชูตินันทน์. (๒๕๖๔). หลักการกำหนดความผิดอาญาและหลักการกำหนดโทษอาญาในการตรากฎหมาย. วารสารสุทธิปริทัศน์. ๓๕(๓), ๒๑-๔๓

ภาษาต่างประเทศ

Herbert L. Packer. (1968). The limits of the Criminal Sanction (p. 296). Stanford University Press.

Kitagawa, K. (2018). Penal Code Amendment Pertaining to Sexual Offenses. Publication Institution of Comparative Law Waseda University.

Luard, E. (1967). The Origins of International Concern over Human Rights. In The International Protection of Human Right (p. 7). Frederick A. Praeger.

Penal Code (France).

Penal Code Act No.45 (April, 1907) (Japan).

Penal Code of 1871 (Germany).

Sexual Offences Act 2003 (UK).