มาตรการทางกฎหมายในการเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งของคนพิการ

Main Article Content

ดร.เอกพงษ์ สารน้อย
ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร

บทคัดย่อ

               การเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่สำคัญของวิถีทางในการปกครองภายใต้ระบอบเสรีประชาธิปไตยที่แสดงออกถึงเจตจำนงร่วมกันของประชาชน คนพิการเป็นประชากรของประเทศที่ มีความสำคัญ มีสิทธิและเสียงในฐานะพลเมืองของประเทศ ซึ่งคนพิการในฐานะเป็นพลเมืองของ ประเทศควรได้รับการคุ้มครองศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปและสามารถเข้าถึง สิทธิในการเลือกตั้งได้อย่างเสมอภาค มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้คนพิการ เข้าถึงกระบวนการเลือกตั้ง กฎหมายเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งของคนพิการ คือ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งกฎหมายที่บังคับใช้ขาดมาตรการที่ส่งผล ให้คนพิการเข้าถึงกระบวนการเลือกตั้ง


               การศึกษาในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งของ คนพิการในประเทศไทย และกฎหมายการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย รวมถึง วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการเข้าถึงกระบวนการเลือกตั้งของคนพิการ แสดงให้เห็นถึง มาตรการที่สมควรนำมาใช้สำหรับคนพิการตั้งแต่การเข้าถึงสิทธิก่อนการเลือกตั้ง การเข้าถึงสิทธิ ในวันออกเสียงเลือกตั้ง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง และการได้รับโอกาสทางการเมืองของคนพิการ ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ขาดกระบวนการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้ง จึงสมควรวางแนวทางให้แก่คนพิการ เพื่อให้คนพิการ สามารถเข้าถึงกระบวนการเลือกตั้งได้สะดวกและเกิดความทัดเทียมกับบุคคลอื่น

Article Details

บท
บทความ

References

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (๒๕๖๐). ความเป็นมาของพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. น. ๓๒.

วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ และคณะ. (๒๕๔๖). รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การแก้ไขกฎหมายที่กีดกันคนพิการ ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม: ศึกษากรณีกฎหมาย และกฎระเบียบที่จำกัดสิทธิคนพิการในการประกอบอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. น. ๔๗.

วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์. (๒๕๓๙). กฎหมายและนโยบายของรัฐเกี่ยวกับคนพิการ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน. น. ๕๘ – ๕๙.

สวัสดิการสำนักงานศาลปกครอง. (๒๕๔๘). คำพิพากษาและค ำสั่งศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๗ เล่ม ๓. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์. น. ๑๒๐.

Persons with disabilities include those who have long-term physical, mental, intellectual or sensory impairments which in interaction with various barriers may hinder their full and effective participation in society on an equal basis with others.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐, มาตรา ๔.

จรัญ ภักดีธนากุล. (๒๕๕๓). การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ : กฎหมายและวิธีปฏิบัติเพื่อความเป็นธรรมของสังคม. [ ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://dep.go.th/images/uploads/Downloads/pdf/888_15.pdf. เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๒.

มานิตย์ จุมปา. (๒๕๕๒). รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คำอธิบายเรียงมาตราพร้อมคำพิพากษาศาลฎีกา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน. น. ๒๓๔.

Commonwealth Electoral Act ๑๙๑๘ (last amended on October ๒๑, ๒๐๑๖).

Commonwealth Electoral Act ๑๙๑๘, sec ๙๓.