ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งสำหรับผู้ต้องขังของประเทศไทยและต่างประเทศ

Main Article Content

ดร.เอกพงษ์ สารน้อย

บทคัดย่อ

                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ให้สิทธิเลือกตั้งแก่ผู้ต้องขัง จึงเป็นการตัดสิทธิทางการเมืองทำให้ไม่เกิดความเสมอภาคแก่ผู้ต้องขัง จึงเป็นเหตุให้ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ต้องขังในประเทศไทยและต่างประเทศ และค้นหาแนวทางข้อเสนอในการสร้างมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกตั้งผู้ต้องขังของประเทศไทย โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 รูปแบบ 1. การวิจัยเอกสารด้วยวิธีการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ต้องขังในประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ 2. การวิจัยภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ คณะกรรมการเลือกตั้ง นำผลจากการเปรียบเทียบและการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา


                ผลการวิจัยพบว่าการเลือกตั้งของผู้ต้องขังในต่างประเทศมีรูปแบบการเลือกตั้งและให้สิทธิดังนี้ ประเทศแคนนาดาเครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้ให้สิทธิเลือกตั้งของผู้ต้องขังโดยให้เลือกตั้งในเรือนจำ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ว่าประเทศไทยต้องให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ผู้ต้องขัง โดยคำนึงสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง รวมทั้งการกระทำความผิดของผู้ต้องขังเป็นการกระทำความผิดทางอาญาส่วนวิธีการเลือกตั้งประเทศแคนนาดาใช้วิธีการเลือกตั้งล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 10 วัน สำหรับเครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ให้เลือกตั้งพร้อมกับการเลือกตั้งของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์


                ข้อเสนอแนะการวิจัย คือ ประเทศไทยสมควรให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ผู้ต้องขังแต่ควรมีการจำกัดสิทธิกับผู้ต้องขังที่ไม่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนที่จะต้องโทษและผู้ต้องขังที่ได้รับโทษประหารชีวิต การจัดการเลือกตั้งให้จัดภายในเรือนจำ บัญชีรายชื่อให้แจ้งรายชื่อผู้ต้องขังที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยใช้รายชื่อตามที่ผู้ต้องขังต้องโทษอยู่ในขณะนั้น โดยจัดการเลือกตั้งพร้อมกับประชาชนทั่วไป วิธีการหาเสียงให้ผู้ลงสมัครหาเสียงในรูปแบบเทปเสียง วิดีโอ ป้ายหาเสียงหรือแผ่นพับเพื่อความปลอดภัยของผู้ลงสมัคร

Article Details

บท
บทความ

References

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, สิทธิมนุษยชน (วิญญูชน 2561) 96.

สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร, ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2560) 167.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนว่าด้วย รัฐ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย (วิญญูชน 2563) 192.

Arthur Schafer, ‘Ballots Behind Bars: the struggle for prisoners’ right to vote’ (University of Manitoba) <http://umanitoba.ca/faculties/arts/departments/philosophy/ethics/media/Ballots_Behind_Bars.pdf> สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2565.

Jerome Davidson, ‘Inside outcasts: prisoners and the right to vote in Australia’ (Parliament of Australia, 24 May 2004) <https://www.aph.gov.au/About_Parliament/Parliamentary_departments/Parliamentary_Library/Publications_Archive/CIB/cib0304/04cib12> สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565.

Canadian Charter of Right and Freedom (1982) Section 3 “Every citizen of Canada has the right to vote in an election of members of the House of Commons or of a legislative assembly and to be qualified for membership therein.”

Commonwealth of Australia Constitution Act 1900 <https://www.legislation.gov.uk/ukpga/Vict/63-64/12/enacted> สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565.

สถาบันพระปกเกล้า, รัฐธรรมนูญกลางแปลง (บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์จำกัด 2557) 34.

Alexander Horne and Isobel White, ‘Prisoners’ voting rights (2005 to May 2015)’ (Parliament and Constitution Centre, 11 February 2015) <https://researchbriefings.files.parliament.uk/documents/SN01764/SN01764.pdf> สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565.

พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560.

ธนาชัย สุนรอนันตชัย, สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง (สถาบันพระปกเกล้า 2565) 38.

วุฒิสาร ตันไชยและคณะ, รูปแบบการลงคะแนนเสียงที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สถาบันพระปกเกล้า 2559) 103.