ปัญหาการขายทอดตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบังคับคดีของประเทศไทย (E-Offering)

Main Article Content

กนกอร สุวรรณโรจน์
ดร.วรรณวิภา พัวศิริ

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบังคับคดีแห่งประเทศไทย ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายและรูปแบบของวิธีการขายทอดตลาด ปัญหาการยืนยันตัวตน ปัญหาการแสดงเจตนาและความบริบูรณ์ของการขายทอดตลาดรวมถึงข้อจำกัดในการเสนอราคา ปัญหาการจัดทำเอกสาร โดยจะทำการศึกษาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย วิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายและกรณีศึกษาของต่างประเทศ


       จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างเพียงพอต่อวิธีการขายทอดตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ เพราะมีเพียงกฎกระทรวงที่เป็นการเพิ่มช่องทางการเสนอราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ซึ่งเมื่อการดำเนินการของภาครัฐถูกจำกัดเพราะสภาวการณ์โควิด-19 รัฐจึงต้องนำเอาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ซึ่งการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ย่อมทำให้มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากการขายทอดตลาดแบบปกติธรรมดา ทำให้กฎหมายทั่วไปไม่อาจนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม และการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์สื่อสารเป็นหลักอาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความเสถียรภาพของระบบหรือความปลอดภัยในข้อมูลได้


       ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการขายทอดตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและรองรับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบังคับคดีให้มีความชัดเจน รวมถึงออกกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับความปลอดภัยและวิธีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อรองรับความน่าเชื่อถือของระบบ เพราะข้อดีของการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในหลายๆ ด้าน และยังทำให้กระบวนการขายทอดตลาดมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคู่ความทุกฝ่าย เพราะการดำเนินการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยมีกฎหมายรองรับเพียงพอย่อมทำให้ทรัพย์สินที่จะทำการขายทอดตลาดนั้นกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้รวดเร็วขึ้นเช่นกัน

Article Details

บท
บทความ

References

หนังสือ

ภาษาไทย

ชยยศ เหมะรัชตะ, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรม (สำนักพิมพ์นิติธรรม 2536).

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ ,กฎหมายคุ้ มครองผู้ บริโภค (โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560).

ไผทชิต เอกจริยกร, คำอธิบายซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2552).

ไพโรจน์ ซึงศิลป์, หลักประเมินราคาทรัพย์สิน (โรงพิมพ์ศุธาศิน 2538).

ศนันทกรณ์ โสตถิพันธุ ์,คำอธิบายซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2552).

ศูนย์กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักกฎหมาย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สัญญาต้องเป็นสัญญา (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) 2557).

ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และชมรมนิติศาสตร์ ม.ธ.’12, คู่มือปฏิบัติการทำสัญญาซื้อขาย (ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และชมรมนิติศาสตร์ ม.ธ.’12 2532).

อัมพร จันทรวิจิตร, คำบรรยายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ให้ค้ำประกัน จำนำจำนอง ตัวแทน นายหน้า ประกันภัย รับขน และเก็บของในคลังสินค้า (โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว 2517).

ภาษาอังกฤษ

Jane K. Winn and Benjamin Wright, Law of Electronic Commerce (4th edn, Wolters Kluwer 2020).

Joseph Bateman, Bateman on Auction with Forms, Precedents and Statutes (Graham Harley Mould (ed) Estates Gazette 1908).

Wu Shaojun, ‘Civil Enforcement System in China and Its Latest Development’ (International Conference on Enforcement of Civil Case Judgement in the Context of Dynamic Regional Economic Integration, 2015) <https://www.led.go.th/inter/pdf/1_China.pdf> สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565.

วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ

ภาษาไทย

ทิพยรัตน์ มุขยวงศา, ‘ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง: ศึกษาเฉพาะกรณีตลาดแบบตรง’ (สารนิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2547).

บุญศิริ คำแก้ว, ‘ปัญหาราคาในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2548).

ประจวบ วงษา, ‘มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคจากการประมูลทางอินเทอร์เน็ต’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2647).

พิชญลักษณ์ คำทองสุก, ‘การขายทอดตลาดทางอินเทอร์เน็ต’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต 2554).

ไพบูลย์ เมฆมานะ, ‘ปัญหาการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2548).

รวยรื่น พรวิวัฒนชัย, ‘การขายทอดตลาดออนไลน์’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559).

วันดี เอื้อสกุลพิพัฒน์, ‘การขายทอดตลาด’ (สารนิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2550).

สารานุกรม

ภาษาไทย

วิกรม เมาลานนท์, ‘ทอดตลาด’, สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน (เล่ม 13, ราชบัณฑิตยสถาน 2516-2517).

บทความ

ภาษาไทย

ปกรณ์ นิลประพันธ์, ‘สรุปกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการขายทอดตลาด’ (บทความทางวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2546).

ศุทธินี แซ่ตั๊น, ‘ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการขายทอดตลาดโดยเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474’ (2563) 2 วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์ 2563.

รายงานผลการวิจัย

ภาษาไทย

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ‘รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขายทอดตลาดและข้อเสนอในการพัฒนาปรับปรุง’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม 2562) <https://www.led.go.th/articles/pdf/factors-rep.pdf> สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2565.

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ‘รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาผลกระทบด้านการผลักดันทรัพย์สินต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพื่อพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบังคับคดีในระดับอาเซียน’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม มปป.) <https://www.led.go.th/doc/asia08012560.pdf> สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565.

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ‘รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเรื่องการขายทอดตลาดด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Auction : E-Auction)’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม มปป.) <https://www.led.go.th/articles/pdf/e-auction2020.pdf> สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565.

อื่น ๆ

ภาษาไทย

สำนักงานการสอบสวนและนิติการ, ‘รับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติขายทอดตลาด พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติค้าของเก่า พ.ศ. ….’ (14 มกราคม 2562) <https://multi.dopa.go.th/ilab/news/cate1/view48> สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, ‘สิทธิผู้บริโภค 5 ประการ’ (มปป.) <https://www.ocpb.go.th/download/S__5300319.pdf> สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล, ‘สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. …. หรือ พ.ร.บ.ดิจิทัลไอดี’ (14 กันยายน 2561) <https://www.dga.or.th/document-sharing/infographic/36173/> สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ‘พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554’ (มปป.) <http://royin.go.th/dictionary/> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Teerayaut, ‘กฎหมายประเพณี’ (Wordpress, 31 มกราคม 2553) <https://teerayaut.wordpress.com/2010/01/31/%e0%b8%81%e0%b8%8e%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%93%e0%b8%b5/> สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2565.

ภาษาอังกฤษ

Alizila Staff, ‘It’s Hammer Time on Taobao’s Online Auction Site’ (Alizila, 12 August 2014) <https://www.alizila.com/its-hammer-time-on-taobaos-online-auction-site/> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Attorney-General’s Department, ‘E-commerce’ (Australian Government Attorney- General’s Department, no publication date) <https://www.ag.gov.au/rights-and-protections/e-commerce> สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565.

Encyclopedia, ‘Online Auctions’ (no publication date) <http://www.encyclopedia.com/books/educational-magazines/online-auctions> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Oxford Learner’s Dictionaries, ‘auction’ (no publication date) <https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/auction_1> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

The Law Dictionary, ‘AUCTION Defitition & Legal Meaning’ (no publication date) <https://thelawdictionary.org/auction/> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Victoria State Government, ‘Justice and Community Safety: Auctions’ (no publication date) <https://www.justice.vic.gov.au/sheriffauctions/> สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

Xinhua, ‘Across China: When judicial auctions meet livestream shopping’ (xinhuanet, 18 December 2019) <http://www.xinhuanet.com/english/2019-12/18/c_138640194.htm> สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565.