ปัญหาทางกฎหมายในการกำกับดูแลงานแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านระบบ Over the Top

Main Article Content

ชลธิชา นวลศรี
ดร.วรรณวิภา พัวศิริ

บทคัดย่อ

       ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เช่น การรับชมโทรทัศน์ในรูปแบบการรับชมการแพร่ภาพและเสียงได้ตามเวลาที่ต้องการ (Video On Demand) ผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ หรือเรียกว่าการให้บริการแบบ Over the Top (OTT) การเติบโตอย่างรวดเร็วของบริการดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์และปัญหาด้านอื่น ๆ แต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองงานแพร่เสียงแพร่ภาพในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 นั้น ได้รับการแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาความล้าสมัยของตัวบทกฎหมายที่ไม่สามารถมารองรับเทคโนโลยีการแพร่เสียงแพร่ภาพได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการศึกษาก็เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อเป็นหลักการในการกําหนดมาตรการควบคุมกํากับดูแลการให้บริการลักษณะ OTT ในประเทศไทยได้อย่างชัดเจน


       จากการศึกษาปัญหาทางกฎหมายและการกํากับดูแลงานแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านระบบ Over the Top พบว่า แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้ามากขึ้น แต่บทกฎหมายหรือข้อบังคับในปัจจุบันยังมิได้รับการแก้ไขและยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ รวมทั้งยังไม่มีองค์กรที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ มีแต่การใช้กฎหมายใกล้เคียงหรือองค์กรที่มีอำนาจใกล้เคียงมาดูแลโดยอนุโลม ทำให้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำผิดในกรณีนี้ได้อย่างครบถ้วน


       ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่า ควรแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมถึงการให้บริการในระบบ OTT ในทุกด้าน อีกทั้งควรมีการจัดตั้งให้สำนักงาน กสทช. กํากับดูแลก่อนที่จะมีการจัดตั้งองค์กรที่จะเข้ามากํากับดูแลการให้บริการโดยตรง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในระยะเริ่มต้นของการให้บริการ OTT ของประเทศไทย โดยกำกับดูแลในเรื่องการให้ใบอนุญาต หลักความเป็นกลาง (Net Neutrality) และทางด้านเนื้อหา เป็นต้น โดยศึกษาจากกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติที่ใกล้เคียงของต่างประเทศและสภาพปัญหาของประเทศไทยควบคู่กันไป

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

กุลเดช สุทธิวรชัย และวริยา ล้ำเลิศ, ‘การศึกษาการกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพ ในระบบ OTT ของประเทศไทย’ (2562) 1 วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 63.

กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว, ‘อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์’ (2565) <https://sites.google.com/site/naruesorn356/home/xintexrnet-laea-sux-so-chei-yl> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

กรุงเทพธุรกิจ, ‘ศึกฟุตบอลโลกเป็นพิษ ‘ทรูฟ้องเอไอเอส’ ละเมิดลิขสิทธิ์’ (bangkokbiznews, 29 มิถุนายน 2561) <https://www.bangkokbiznews.com/news/806176> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

ชลิตา ศรีนวล, ‘Over-the-Top (OTT): สงครามที่เพิ่งเริ่มต้นในระบบนิเวศใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร’ (2558) 1 วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ 74.

ดารณี ราชภูเขียว, ‘การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาศึกษากรณีการสร้างสรรค์ศิลปะลวดลายบนกาแฟ’ (2561) 1 วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 1.

บริษัท ไทม์ คอนซัลติ้ง จำกัด, ‘รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลการแข่งขันในกิจการโทรทัศน์แบบ Over the Top’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงาน กสทช.) (สำนักงาน กสทช. 2559).

พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์, ‘การกำกับดูแล OTT จำเป็นหรือไม่เพียงใด’ (กรุงเทพธุรกิจ, 29 สิงหาคม 2565) <https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/116887> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

สำนักงาน กสทช., ‘คู่มือจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์’ (nbtc, 2557) <https://shorturl.asia/qZm1o> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

สำนักงาน กสทช., ‘สภาพการแข่งขันและแนวทางการกำกับดูแลกิจการ Over the Top: OTT’ (2560) <http://202.125.84.14/data/academic/file/600900000004.pdf> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

อศินา พรวศิน, ‘ดีอีเอส ประสาน ‘เฟซบุ๊ก-กูเกิล-ยูทูป’ นำภาพ-คลิป ผู้เสียชีวิตกราดยิงโคราช’ (2563) <https://businesstoday.co/technology/media/09/02/2020/> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

ภาษาอังกฤษ

Federal Communications Commission, ‘Obscenity, indecency and profanity’ (fcc, 2018) <https://www.fcc.gov/general/obscenity-indecency-and-profanity> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

Federal Communications Commission, ‘Open-Internet’ (fcc, 23 November 2018) <https://www.fcc.gov/generaV/open-internet> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

Ofcom, ‘About Ofcom’ (ofcom, 17 June 2002) <https://www.ofcom.org.uk/home> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

Ofcom, ‘Policies and guidelines’ (ofcom, 7 June 2002) <https://www.ofcom.org.uk/about-ofcom/policies-and-guidelines> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.

The New York Time, ‘Net Neutrality Has Officially Been Repealed. Here’s How That Could Affect You.’ (nytimes, 23 March 2003) <https://www.nytimes.com/2018/06/11/technology/net-neutrality-repeal.html> สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.