กฎหมายประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับข้ามพรมแดนระหว่างประเทศไทย กับ สปป.ลาว

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณชัชชญา ทองจันทร์

บทคัดย่อ

            ตามที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวดำเนินโครงการความร่วมมือประกันภัยรถภาคบังคับข้ามพรมแดนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เพื่อการขับเคลื่อนพิธีสาร ฉบับที่ 5 โครงการประกันภัยรถภาคบังคับผ่านแดนของอาเซียน ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “พิธีสาร 5” แต่เกิดความล่าช้าเพราะเกิดปัญหา ดังนี้ 1) ความไม่สอดคล้องกันของกฎหมายประกันภัยรถภาคบังคับทั้งสองประเทศ และ 2) การขายประกันภัยรถภาคบังคับผ่านแดนของบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการพิธีสาร 5 ผ่านระบบศูนย์กลางข้อมูลโครงการประกันภัยรถภาคบังคับของอาเซียน (ASEAN Compulsory Motor Insurance: ACMI) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ระบบศูนย์กลางข้อมูล ACMI” ผู้เขียนจึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาเพื่อหาแนวทางการจัดทำกฎหมายประกันภัยรถภาคบังคับทั้งสองประเทศให้สอดคล้องกันและพัฒนากรอบความตกลงทวิภาคีในการกำกับดูแลประกันภัยรถภาคบังคับข้ามพรมแดนระหว่างสองประเทศ


            จากการศึกษาปัญหาตาม 1) ความไม่สอดคล้องกันของกฎหมายประกันภัยรถภาคบังคับทั้งสองประเทศพบว่าเกิดจากความแตกต่างเกี่ยวกับการกำหนดประเภทของสัญญาจำนวนเงินที่คุ้มครองความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครอง อัตราเบี้ยประกันภัย และการกำหนดระยะเวลาการคุ้มครองตามสัญญา และตาม 2) การขายประกันภัยรถภาคบังคับผ่านแดนของบริษัทประกันภัย ที่เข้าร่วมโครงการพิธีสาร 5 ผ่านระบบศูนย์กลางข้อมูล ACMI พบว่าเกิดจากการขายประกันผ่านระบบศูนย์กลางข้อมูล ACMI และการใช้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลประกันภัยเพื่อการกำกับดูแลบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการพิธีสาร 5 ในการขายประกันภัยผ่านระบบศูนย์กลางข้อมูล ACMI


            จึงได้ข้อเสนอแนะตามข้อที่หนึ่ง ประเทศไทยเพิ่มความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินแก่ผู้ประสบภัยโดยกำหนดให้รถทุกประเภทที่ข้ามพรมแดนมาจาก สปป.ลาว ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจประเภท 3 พ่วงกับประกันภัยรถภาคบังคับ และสองประเทศพัฒนากรอบความตกลงทวิภาคีประกันภัยรถภาคบังคับข้ามพรมแดนระหว่างกัน และตามข้อที่สอง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดนโยบายสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อถ่ายทอดข้อมูลของผู้เอาประกันภัยและความคุ้มครองตามกรมธรรม์รถภาคบังคับทั้งสองประเทศผ่านระบบศูนย์กลางข้อมูล ACMI และสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติทั้งสองประเทศกำหนดนโยบายการพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูล ACMI ในอนาคต

Article Details

บท
บทความ

References

หนังสือ

ภาษาไทย

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด, สรุปความเป็นมาและความคืบหน้าการประกันภัยรถผ่านแดน (Thailand National Bureau of Insurance) (บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 2560).

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด, บันทึกความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในสำรวจอุบัติเหตุ หรือการจัดการสินไหมทดแทน และการรับประกันภัยรถยนต์ผ่านแดน (บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 2552).

ภาษาต่างประเทศ

Eva J. Lohse, ‘The Meaning of Harmonisation in the Context of European Community Law - a Process in Need of Definition’ in Mads Andenas and Camilla Baasch Andersen (eds) Theory and Practice of Harmonisation (dward Elgar Publishing 2012) <https://www.academia.edu/3506314/_The_Meaning_of_Harmonisation_in_the_Context_of_European_Union_Law_a_Process_in_Need_of_Definition_> สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2564.

Mads Andenas, Camilla Baasch Andersen and Ross Ashcroft (eds), Towards a theory of harmonization, in Theory and Practice of Harmonisation (Edward Elgar Publishing 2011).

บทความ

ภาษาไทย

ปฏิภาณ ตั้งวิจิตร, ‘แนวทางการฮาร์โมไนซ์ภาษีสรรพสามิตในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Excise Tax Harmonization In ASEAN’ (2562) 1 วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ 88 <https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/articleview/165430> สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2564.

วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ

ภาษาไทย

สุธาทิช์ณีย์ อ๊ะหมัดตอเฮด, ‘ระบบคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์’ (การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 2557).

ภาษาต่างประเทศ

Paez Zambrano and Daniel Antonio, ‘The Impact of European Commercial Law Harmonization: Is further harmonization of Commercial Law in the EU necessary?’ (LL.M. Thesis University of Oslo 2014) <http://www.duo.uio.no/bitstream/handle/10852/43059/The_Impact_Of_European_Commercial_Law_Harmonization.pdf?sequence=1&Allowed=y> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2564.

สัมภาษณ์

ภาษาไทย

สัมภาษณ์ทางการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ ประสิทธิ์ คำเกิด, รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด, (5 พฤษภาคม 2565).

สัมภาษณ์ทางการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ มน วรจักร, เจ้าของธุรกิจเสริมความงามในเวียงจันทน์ สปป.ลาว, (23 เมษายน 2566).

สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ดำรงค์ สงค์ประเสริฐ, ตัวแทน บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน), สำนักงานตัวแทน จังหวัดหนองคาย, (14 พฤษภาคม 2565).

สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เทวิน ตรียะชาติ, ผู้เอาประกันภัยที่ประกอบธุรกิจรถบรรทุกขนส่งผลไม้ไทยไปประเทศจีน, (22 เมษายน 2566).

สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ อัฐพล สาน้อย, ประชาชนไทยที่เคยซื้อประกันภัยรถภาคบังคับความรับผิด ทางแพ่งต่อบุคคลที่สามของ สปป.ลาว เพื่อนำรถข้ามพรมแดนไป สปป.ลาว, (15 พฤษภาคม 2565).

ภาษาต่างประเทศ

Telephone interview with Chimmy Chakkavan, Coordinator in Lao PDR, Goods Assembly Company Limited, Head office No. 19/5 Moo 7, Yang Talat Subdistrict, Krok Phra District, Nakhon Sawan Province 60170 Thakhek City, Khammouane Province, Lao PDR, (1 April 2023).

Video conference interview with Souliyanh Lounchantha, Head of the Center for Legal Counselling, Faculty of Law and Political Science National University of Lao, (13 April 2023).

อื่นๆ

ภาษาไทย

กมลินทร์ พินิจภูวดล และคณะ, ‘รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายใต้การพัฒนากฎหมายภายในเพื่อรองรับการทำงานของประชาคมอาเซียน ปีงบประมาณ 2559’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2559).

กรุงเทพธุรกิจ ‘บ.กลางฯ ผนึก 9 ประเทศในอาเซียนเดินหน้าทำประกันรถภาคบังคับผ่านออนไลน์’ กรุงเทพธุรกิจ (20 ตุลาคม 2564) <https://www.bangkokbiznews.com/business/967119> สืบค้นวันที่ 27 มกราคม 2564.

ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยความร่วมมือในการสำรวจอุบัติเหตุ หรือการจัดการสินไหมทดแทนและการรับประกันภัยรถผ่านแดนระหว่างประเทศไทย กับ สปป.ลาว ฉบับที่ 01/2558

ประกันไทย, ‘วิริยะประกันภัย ประกันภัยประเภท 3 เริ่มต้น 2,500 บาท’ (ประกันไทย, มปป.) <https://www.prakanthai.com/วิริยะประกันภัย-ประกันภัยประเภท-3-เริ่มต้น-2-500-บาท-ผลิตภัณฑ์-193> สืบค้นวันที่ 3 ตุลาคม 2565.

ประชาชาติธุรกิจ, ‘คปภ.หนองคายสกัดผูกขาดทำประกันภัยรถลาว ชี้ทุกบริษัทมาเช่าพื้นที่หาลูกค้าได้’ ประชาชาติธุรกิจ (8 มิถุนายน 2565) <https://www.prachachat.net/local-economy/news-949392> สืบค้นวันที่ 28 เมษายน 2566.

ภาษาต่างประเทศ

Allianz, ‘Third Party Liability Motor Insurance’ (azlaos, no publication date) <https://www.azlaos.com/en_LA/product/motor-insurance/motor-third-party-liability.html> สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565.

ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit.

Council of Bureaux, ‘Internal Regulations Article 1’ <https://www.nbi-ngf.ch/pdf/Internal-regulations-Belgrade-1-July-2022-clean-version.pdf> สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564.

COMESA, ‘Common Market For Eastern And Southern Africa: Operations Manual Of The Yellow Card Scheme And Reinsurance Pool’ (Comesa, October 2015) <http://ycmis.comesa.int/uploads/Operations%20Manual.pdf> สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564.

Memorandum of Understanding Between and Among the Ministry of Economy and Finance, Kingdom of Cambodia, Ministry of Finance, Lao People’s Democratic Republic, Office of Insurance Commission (OIC), Kingdom of Thailand, Ministry of Finance, Socialist Republic of Vietnam Concerning the Cooperation on Compulsory Motor Vehicle Insurance for Vehicle in Cross Border.

Reni Budi Setianingrum and M. Hawin, ‘Harmonization of Competition Law: Research on the Transplantability of EU’s Law Into ASEAN’ (2020) 3 Yuridika 613 <https://e-journal.unair.ac.id/YDK/article/view/21179/12018> สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564.