อำนาจฟ้องในคดีสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
อำนาจฟ้องในคดีสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมของไทยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจฟ้องและรูปแบบการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมของไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอหลักเกณฑ์อำนาจฟ้องและรูปแบบกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรมของไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนทางสิ่งแวดล้อมที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติได้รับการยอมรับจากองค์กรระหว่างประเทศในหลาย ประเทศ ประชาชนทั่วไปสามารถฟ้องคดีได้ในลักษณะเปิด (open standing) โดยหลักการฟ้องคดีโดยประชาชนและในประเทศสหรัฐอเมริกายังขยายอำนาจฟ้องไปยังสัตว์ป่าในสถานะเป็นโจทก์ที่เป็นผู้เสียหายในคดี โดยให้มนุษย์มีหน้าที่ใช้สิทธิในการฟ้องร้องคดีอาญาแทนสัตว์ป่าเหล่านั้น เพื่อสร้างกลไกและรูปแบบด้านกฎหมายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมได้โดยง่ายและเพื่อปกป้องและคุ้มครองระบบนิเวศตามธรรมชาติไว้ให้ชนรุ่นหลัง การสร้างกลไกหรือเครื่องมือทางกฎหมายในการปกป้องและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรมของไทยโดยหลักนิติรัฐ จึงควรขยายอำนาจฟ้องไปยังประชาชนโดยใช้หลักการฟ้องคดีแทนประชาชน (class action) และหลักการฟ้องคดีโดยประชาชน (citizen suit) ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรม ดังนี้ 1. ควรกำหนดให้มีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม 2. บัญญัตินิยามผู้มีอำนาจฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน 3. จัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมเป็นศาลชำนัญพิเศษในศาลยุติธรรม 4.จัดให้มีหน่วยงานในการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมก่อนนำคดีมาฟ้องศาล เพื่อพัฒนาระบบการบังคับใช้กฎหมาย การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและการระงับข้อพิพาทอย่างสันติวิธีเพื่อช่วยเยียวยาผู้เสียหายและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภาษาไทย
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ‘แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง’ (สํานักพิมพ์กรมควบคุมมลพิษ 2557).
กฤษณะ ช่างกล่อม, การจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมกับปัญหาระบบความยุติธรรมไทย (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2556).
กอบกุล รายะนาคร, ‘พัฒนาการหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน’ (เอกสารทางวิชาการหมายเลข 25 โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2549).
คนึงนิจ บุญบานเย็น, ‘ปัญหาการดำเนินคดีแพ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 กับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2549).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2549.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185-5221/2553.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10797/2559.
ชนกพร สุมนะเศรษฐกุล, ‘การบังคับใช้มาตรการทางอาญาเพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าในประเทศไทย’ (ดุษฎีนิพนธ์ นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561).
ทัศนีย์ อังสนานนท์, ‘การดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action)’ (รายงานส่วนบุคคลประกอบการอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 6 วิทยาลัยข้าราชการศาลยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2551).
ไทยพีบีเอส, ‘ชาวบ้านชนะคดีมลพิษแบบกลุ่ม ครั้งแรกในประเทศไทย’ (ThaiPBS, 24 ธันวาคม 2563) <https://theactive.net/news/20201224-4/> สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566.
ปีดิเทพ อยู่ยืนยง, ‘อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมสาธารณะในการตัดสินใจและการเข้าถึงความยุติธรรมในคดีสิ่งแวดล้อม ค.ศ.1998 (อนุสัญญาอาร์ฮูส) กับความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน’ (Public-Law, 19 ธันวาคม 2553) <http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1538> สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2566.
ปิยะวัฒน์ คุณาเวชกิจ, ‘ปัญหาว่าด้วยพยาน หลักฐานในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของศาลยุติธรรม’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557).
พรชัย น้อยบ้านโง้ง, ‘สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม การพัฒนา และสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีในบริบทของกฎหมายสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ’ (2563) 2 วารสารกฎหมายสิทธิมนุษยชน 79.
พิพากษ์ เกรียติกมเลศ,‘ปัญหาอำนาจฟ้องและเขตอำนาจศาลคดีสิ่งแวดล้อมของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง’ (วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2561) <https://so03.tci-thaijo.org>article>download> สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565.
ไฟ เสนาไชย, ‘การฟ้องคดีแพ่งโดยประชาชนในคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาธรรมศาสตร์ 2552).
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW), ‘สถานการณ์สิ่งแวดล้อม สิทธิ และกฎหมายที่ต้องติดตามในปี 2565’ (enlawfoundation, 28 กุมภาพันธ์ 2566) <https://enlawfoundation.org/envi-watch-2565/> สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565.
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW), ‘ฟ้องทะลุฝุ่น PM 2.5’ (enlawfoundation, 22 มีนาคม 2565) <https://enlawfoundation.org/pm-2-5-lawsuit/> สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566.
ศุทธินี ใจคำ, ‘พหุลักษณ์ของความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม: ภาพสะท้อนจากคดีสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับคนชายขอบ’ (การประชุมวิชาการสาขานิติศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 1, โรงแรมแคนทารีฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561).
ศักดิ์ณรงค์ มงคล, ‘ความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม’ (2558) 2 วารสารพัฒนาสังคม 87 <https://www.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/down/oad/41275/40499> สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565.
สภาปฏิรูปแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ, วาระปฏิรูปพิเศษ 6 : การจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม (สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2558).
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สิทธิชุมชน (สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2563).
สิริพิชญ์ชนก คุณประเสริฐ, ‘การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environmental Health Impact Assessment: EHIA)’ (2561) เอกสารวิชาการ Academic Focus สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุชาติ วงศ์สินนาค, ‘สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของรัฐ: บทเรียนจากคำพิพากษาของศาลสูงแห่งมาลายา (มาเลเซีย)’ (admincourt, 1 สิงหาคม 2553) <https://www.admincourt.go.th/admincourt/site/04judgmentdetail-1286.html> สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 5, วิญญูชน 2561).
ภาษาต่างประเทศ
Carine Nadal, ‘Pursuing substantive environmental justice: The Aarhus Convention as a ‘pillar’ of empowerment’ (2008) 1 European Law Review 28.
David Eckstein, Vera Künzel, Laura Schäfer, ‘Global Climate Risk Index 2021’ (Germanwatch, 25 January 2021) <http://www.germanwatch.orglen/19777> สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563.
Defenders of Wildlife Center for Wildlife Law, The Public in Action Using State Citizen Suit Statutes to Protect Biodiversity, (September 2000) อ้างถึงใน ไฟ เสนาไชย, ‘การฟ้องคดีแพ่งโดยประชาชนในคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).
Endangered Species Act of 1973.
M. Purdue, ‘An overview of the law on public participation in planning law and whether it complies with the Aarhus Convention’ (2005) 3 E.L.M. 107.
Palila v. Hawaii Department of Land & Natural Resources, 852 F.2d 1106 - Court of Appeals, 9th Circuit 1988.
Physicsworld, ‘Climate change contributing to increase in extreme weather events, says expert report’ (Physicsworld, 21 December 2019) <https://physicsworld.com/a/climate-change-contributing-to-increase-in-extreme-weather-events-says-expert-report/> สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563.
UNEP, ‘Stockholm+50 Recommendations and Actions for Renewal and Trust’ (stockholm50, no publication date) <https://www.stockholm50.global/resources/stockholm50-recommendations-and-actions-renewal-and-trust> สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565.
UNECE, ‘Introduction’ (UNECE, no publication date) <http://www.unece.org/env/pp/introduction.html> สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555.
World Economic Forum, ‘World Economic Forum Annual Meeting 2022’ <https://www.weforum.org/> สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2566.