กระบวนพิจารณาคำสั่งให้ลงโทษทางอาญาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมัน

Main Article Content

ดร.สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์

บทคัดย่อ

      กระบวนพิจารณาคำสั่งให้ลงโทษทางอาญาเป็นกระบวนพิจารณาคดีที่ใช้เอกสารเป็นหลักโดยไม่มีการสืบพยานในศาล หรือการที่จำเลยจะต้องมาปรากฏตัวที่ศาลหากจำเลยไม่ได้ยื่นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งให้ลงโทษทางอาญา ทำให้คดีสามารถเสร็จไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตามกฎหมายเยอรมัน กฎหมายสวิสและกฎหมายฝรั่งเศส ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของตน ในทางตรงกันข้าม หากจำเลยยื่นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งให้ลงโทษทางอาญา คำสั่งให้ลงโทษทางอาญาจะสิ้นผล คดีจะกลับเข้ามาสู่การพิจารณาในชั้นศาลตามปกติราวกับว่าไม่เคยมีคำสั่งให้ลงโทษทางอาญา กระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวแม้จะมีข้อดี แต่ก็มีข้อด้อยบางประการที่ผู้เขียนจะได้นำมาอภิปราย โดยแนวทางของกฎหมายเยอรมันจะเป็นหลักในการนำเสนอ ส่วนกฎหมายสวิสและฝรั่งเศสบางส่วนเป็นส่วนเสริมข้อเสนอของผู้เขียน อย่างไรก็ตามในชั้นต้น ผู้เขียนเสนอให้ใช้กระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวกับความผิดพินัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ก่อนนำไปใช้กับความผิดอาญาที่มีความร้ายแรงเพิ่มขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความ

References

ภาษาไทย

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘เหลียวหลังแลหน้า : หลักและปัญหาการดำเนินคดีอาญาของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน’ (2562) 1 บทบัณฑิตย์ 212.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘กระบวนพิจารณาบังคับให้ฟ้องคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมัน’ (2563) 3 บทบัณฑิตย์ 151.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘กระบวนพิจารณาบังคับให้ฟ้องคดีในมุมมองของศาสตราจารย์ John H. Langbein (ตอน 1)’ (2566) 1 บทบัณฑิตย์ 143.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์ (ผู้แปล), ‘กระบวนพิจารณาบังคับให้ฟ้องคดีในมุมมองของศาสตราจารย์ John H. Langbein (ตอน 2)’ (2566) 2 บทบัณฑิตย์ 135.

หนังสือภาษาต่างประเทศ

Claus Roxin and Bernd Schünemann, Strafverfahrensrecht (29th edn, C.H. Beck Verlag 2017).

Wolfgang Joecks, Studienkommentar StPO (2nd edn, C.H. Beck Verlag 2008).

Klaus Volk, Grundkurs StPO (6th edn, C.H. Beck Verlag 2008).

Mark Pieth, Schweizerisches Strafprozessrecht (2 edn, Helbing & Lichtenhahn Verlag 2012).

Raluca Enescu, Adja Lea Niang and Carsten Momsen, ‘Verteidigung in Strafbefehlsverfahren in Deutschland, Frankreich und der Schweiz’ (2022) 1 KriPoZ 20 <https://kripoz.de/2022/01/30/verteidigung-in-strafbefehlsverfahren-in-deutschland-frankreich-und-der-schweiz/> สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2566.

Sabine Bless, ‘Der Strafbefehl – in der Schweizerischen Strafprozessordnung’ (Tagung der Stiftung für die Weiterbildung schweizerischer Richterinnen und Richter vom 17. Juni 2010 in Luzern) <https://ius.unibas.ch/fileadmin/user_upload/ius/09_Upload_Personenprofile/01_Professuren/Gless_Sabine/Strafbefehl_in_der_CH_StPO.pdf> สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2566.

Tamina Preuss, ‘Das Strafbefehlsverfahren: Ein Ueberblick ueber pruefungsrelevante Fragestellungen’ (2017) 2 Zeitschrift fuer das Juristische Studium 176.

Uwe Hellmann, Strafprozessrecht (Springer 1998).