ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มคดีประเภทฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิในศาลปกครองไทย

Main Article Content

ธีรภัทร เฟื่องวณิชศาสตร์

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันคดีปกครองไทยมุ่งตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย แต่ขาดมิติและประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลอย่างรอบด้าน บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิซึ่งเป็นคดีประเภทหนึ่งของคดีปกครองเยอรมันที่บัญญัติไว้อย่างเป็นระบบ โดยถือเป็นหลักประกันขั้นต่ำในการเข้าถึงการคุ้มครองทางศาลของบุคคล จึงนำมาสู่การศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มประเภทคดีฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิในศาลปกครองไทย


          จากการศึกษาพบว่าอาจนำคดีการฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิมาบัญญัติใช้ในคดีปกครองไทยได้ โดยนำมาใช้ในลักษณะที่เป็นคดีระบบสำรองซึ่งไม่ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมแต่อย่างใด เนื่องจากภารกิจของศาลปกครองที่ไม่ใช่เพียงแต่มุ่งตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายแต่ยังต้องมุ่งคุ้มครองสิทธิของบุคคลด้วย และมีร่องรอยคดีฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิในคดีปกครองไทยอยู่แล้วตั้งแต่มีการจัดตั้งศาลปกครอง แต่การนำมาใช้อย่างเป็นระบบแบบประเทศเยอรมนีจะต้องมีการบัญญัติคดีประเภทฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับตัวผู้มีสิทธิฟ้องคดี ระยะเวลาการฟ้องคดี คำขอบังคับและการเป็นคดีประเภทสำรอง ซึ่งล้วนแต่ยังไม่ได้มีการบัญญัติกรณีดังกล่าวในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่อย่างใด


          คดีปกครองไทยยังขาดกลไกในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลบางประการ การนำคำฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิมาใช้อย่างเป็นระบบในคดีปกครองไทยจะช่วยเพิ่มมิติและประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลและรับรองการใช้สิทธิของบุคคลทางศาลในฐานะเป็นหลักประกันขั้นต่ำได้ จึงควรบัญญัติคดีประเภทฟ้องขอให้พิสูจน์สิทธิเข้าในคดีปกครองไทย

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

บรรเจิด สิงคะเนติ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปกครองเยอรมัน (โครงการตำราและวารสาร นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2547).

— —, ‘ระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครองตามกฎหมายเยอรมัน’ (2548) 3 รวมบทความทางวิชาการ เล่ม 3: กฎหมายปกครอง ภาควิธีสบัญญัติและกฎหมายอื่น 181.

— —, หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2558)

มานิตย์ วงศ์เสรี, นิติวิธี การใช้และการตีความกฎหมาย ศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายเยอรมัน (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2562).

วรเจตน์ ภาคีรัฐ, ‘กฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองเปรียบเทียบ เรื่อง ประเภทของคำฟ้องคดีปกครองในกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองฝรั่งเศส’ (เอกสารประกอบการบรรยายบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2564).

ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์, ‘โมฆะกรรมของคำสั่งทางปกครอง : มุมมองเชิงกฎหมายเปรียบเทียบและพัฒนาการล่าสุดในระบบกฎหมายไทย’ (2558) 6 กฤษฎีกาสาร 4.

สำนักวิจัยและวิชาการสำนักงานศาลปกครอง, รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ (วุฒิสภา) ครั้งที่ 9/2542 (6 เมษายน 2542).

ภาษาต่างประเทศ

Christoph Trzaskalik, Die Rechtsschutzzone der Feststellungsklage im Zivil und Verwaltungsprozeß (Duncker Humblot 1978).

David Capitant, ‘35 Geschichte der Verwaltungsgerichtsbarkeit in Frankreich’ in Bert Schaffarzik (Herausgeber) Handbuch der Geschichte der Verwaltungsgerichtsbarkeit in Deutschland und Europa (Springer 2019).

Friedhelm Hufen, Verwaltungsprozessrecht (C.H. Beck 2021).

Friedrich Schoch, Eberhard Schmidt-Aßmann, und Rainer Pietzner, Verwaltungsgerichtsordnung (VwGO): Kommentar (C. H. Beck 2001).

Johannes Koch, Verwaltungsrechtsschutz in Frankreich : eine rechtsvergleichende Untersuchung zu den verwaltungsinternen und verwaltungs- gerichtlichen Rechtsbehelfen des Bürgers gegenüber der Verwaltung (Duncker und Humblot 1998).

John Bell and François Lichère, Contemporary French Administrative Law (Cambridge University Press 2022).

Kerstin Kares, Das Rechtsverhältnis i.S.v. § 43 I Alt. 1 VwGO (Peter Lang 2011).

Klaus F.Gärditz, Verwaltungsgerichtsordnung (VwGO) mit nebengesetzen (Carl Hezmanns Verlag 2018).

Olivier Gohin, Contieux administrative (deuxième édition, Litec 1999 ).

Sandrine Perera, ‘Le Recours En Interprétation, Un Recours Délaissé’ (Le blog Droit Administratif, 19 April 2022) <https://blogdroitadministratif.net/2022/04/19/le-recours-en-interpretation-un-recours-delaisse/> สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566.

Sodan Helge und Jan Ziekow, Grundkurs öffentliches Recht (Verlag C. H. Beck 2023).

Thomas Würtenberger und Dirk Heckmann, Verwaltungsprozessrecht (C.H. Beck 2018).

Wolf Selb, Die verwaltungsgerichtliche Feststellungsklage (Duncker und Humblot 1998).