กลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิต

Main Article Content

ดร.กิตสุรณ สังขสุวรรณ์

บทคัดย่อ

        กลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตถือเป็นภัยคุกคามการค้าระหว่างประเทศ กฎเกณฑ์สำหรับกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องถูกกำหนดหรือพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวกับกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิต โดยกฎเกณฑ์สำหรับกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตช่วยทำให้ธนาคารสามารถปฏิเสธหรือระงับการชำระเงินแก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อธนาคารได้ตรวจพบหรือรับทราบถึงกลฉ้อฉลนั้น กลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตยังถือเป็นข้อยกเว้นของหลักความเป็นเอกเทศของเลตเตอร์ออฟเครดิตด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาเรื่องกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตมีจำนวนไม่มากในประเทศไทย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะของกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย รวมถึงการวิเคราะห์และสร้างกฎเกณฑ์สำหรับกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิต วิธีการวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือ บทความวิจัย บทความวิชาการ รายงาน บทบัญญัติกฎหมาย และคำพิพากษาของศาล


        การวิจัยพบว่ามีกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ยังไม่ปรากฏคำพิพากษาที่วินิจฉัยประเด็นของกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิต และประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายอันเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตและกฎเกณฑ์สำหรับกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตด้วยเช่นกัน การวิจัยยังพบว่ากฎเกณฑ์สำหรับกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตประกอบไปด้วย (1) มาตรฐานของกลฉ้อฉล และ (2) กฎเกณฑ์อันเกี่ยวกับกลฉ้อฉล อีกทั้งกฎเกณฑ์สำหรับกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตสามารถถูกสร้างหรือพัฒนาได้จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมาตรฐานของกลฉ้อฉลในเลตเตอร์ออฟเครดิตสามารถกำหนดขึ้นได้ โดยอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา ในขณะที่กฎเกณฑ์อันเกี่ยวกับกลฉ้อฉลสามารถกำหนดขึ้นได้โดยอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10, พลสยาม พริ้นติ้ง 2551).

คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2560).

จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 1 (พิมพ์ครั้งที่ 8, เนติบัณฑิตยสภา 2548).

จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 2 และภาค 3 (พิมพ์ครั้งที่ 7, เนติบัณฑิตยสภา 2553).

ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา, คำอธิบาย วิชานิติกรรม-สัญญา (เนติบัณฑิตยสภา 2565).

ศักดิ สนองชาติ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 11, นิติบรรณาการ 2557).

โสภณ รัตนากร, หนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 4, นิติบรรณาการ 2542).

ภาษาอังกฤษ

Daniel C.K. Chow and Thomas J. Schoenbaum, International Business Transactions (Aspen Publishing 2022).

Deborah Horowitz, Letters of Credit and Demand Guarantees: Defences to Payment (Oxford 2010).

Douglas J. Whaley and Stepen M. McJohn, Problems and Materials on the Sale and Lease of Goods (Aspen Publishing 2019).

Eun Sup Lee, Management of International Trade (Springer 2013).

Gao Xiang and Ross P. Buckley, ‘A Comparative Analysis of the Standard of Fraud Required under the Fraud Rule in Letter of Credit Law’ (2003) Duke Journal of Comparative & International Law.

James M. Klotz, Power Tools for Negotiating International Business Deals (2nd edn, Wolters Kluwer 2008).

Jo Reddy and Howard Johnson, Commercial Law 2009-2010 (Routledge-Cavendish 2009).

Lynn M. Lopucki and others, Commercial Transactions: A Systems Approach (7th edn, Aspen Publishing 2020).

Neil C. Schofield, Commodity Derivatives: Markets and Applications (2nd edn, Wiley 2021).

Nicholas Ryder, Margaret Griffiths and Lachmi Singh, Commercial Law: Principles and Policy (Cambridge University Press 2012).

Rajendra Ramlogan and Natalie Persadie, Caribbean Business Law (Cavendish Publishing 2012).

Richard Schaffer, Filiberto Agusti and Lucien J. Dhooge, International Business Law and Its Environment (Cengage 2018).

Ross P. Buckley and Xiang Gao, ‘The Development of the Fraud Rule in Letter of Credit Law: The Journal So Far and the Road Ahead’ (2002) University of Pennsylvania Journal of International Law.

Ruth Sefton-Green, Mistake, Fraud and Duties to Inform in European Contract Law (Cambridge University Press, 2005).

Sang Man Kim, Payment Methods and Finance for International Trade (Spinger 2020).

The British Chambers of Commerce, International Trade Manual (Routledge 2011).

Xiang Gao, The Fraud Rule in the Law of Letters of Credit: A Comparative Study (Kluwer Law International 2002).

Yanping Liu, Minghai Tian and Yanming shao, Cybercrimes and Financial Crimes in the Global Era (Springer 2022)