ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ : ศึกษากรณีการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

Main Article Content

ธิดารัตน์ หิรัญวงศ์
ดร.พิมพ์กมล กองโภค

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการปรับใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำประกันภัยภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2551 ในการปรับใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ


          จากผลการศึกษาพบว่ากฎหมายทั้ง 4 ฉบับ กล่าวคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 กล่าวถึงเฉพาะรถยนต์ที่มีผู้ขับขี่ เช่น การทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ผู้ได้รับความคุ้มครองจากอุบัติเหตุจากการใช้รถยนต์ และหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เป็นต้น โดยไม่รวมถึงการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับสำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ จึงไม่ครอบคลุมถึงการได้รับค่าสินไหมทดแทนของผู้ใช้รถยนต์อันเกิดจากอุบัติเหตุจากการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าควรเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้คำนิยาม คำว่า “รถ” เพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น ควรกำหนดแนวทางการทำประกันภัยภาคบังคับสำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ รวมทั้งหลักเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเพื่อให้ความคุ้มครองกับบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม อีกทั้งสอดคล้องกับบริบทความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

กฤตพร เจริญกุล, ‘ปัญหาการตีความและการบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกัน : ศึกษากรณีการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของธนาคารพาณิชย์’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2559).

จิตรา เพียรล้ำเลิศ, คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 2, นิติธรรม 2555).

ไชยยศ เหมะรัชตะ, ย่อหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกันภัย พร้อมด้วยกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พิมพ์ครั้งที่ 7, นิติธรรม 2546).

ณัฐภูมินทร์ เขมะทัสสี และยุทนา พิมเสน, ‘รถจำลองขับเคลื่อนอัตโนมัติ Automatically Car’ (โครงงานภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม 2561).

ณิชกานต์ รัตนเดช, ‘ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทดสอบและการใช้งานยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติบนถนนสาธารณะ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).

ธนกฤต ครูปัญญามาตย์, ‘ประกันภัย พ.ร.บ. ระบบประกันภัยที่ต้องการเปลี่ยนแปลง’ (2559) 147 วารสารประกันภัย 19.

ธานี วรภัทร์, กฎหมายว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2558).

ธีระยุทธ ปักษา, คำอธิบายกฎหมายลักษณะประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 2, นิติธรรม 2562).

ภัทรนันท์ แสงศรี, ‘รถยนต์ไร้คนขับกับประเทศไทย’ <https://medium.com/@pattaranan_s/รถยนต์ไร้คนขับกับประเทศไทย> สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2566.

ภาณุพันธุ์ อุดมสุวรรณกุล และภูมิภัทร อุดมสุวรรณกุล, ‘ยานยนต์ไร้คนขับ จะเปลี่ยนประกันภัยอย่างไร’ <https://www.bangkokbiznews.com/business/917783> สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2566.

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล และสรารัตน์ ฉายพงษ์, ‘การศึกษาปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน’ (2564) 15(3) วารสารชุมชนวิจัย 30 <http://trsl.thairoads.org/FileUpLoad/1813/220206001813.pdf> สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2566.

รัชพร ศรีเดช และคณะ, ‘อุบัติเหตุบนท้องถนน : การสร้างแรงจูงใจเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในวัยรุ่นและเยาวชน’ (2564) 43(2) วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 127 <https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nursingsiamjournal/article/download/250900/171791/962331> สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2566.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน, ‘การเปรียบเทียบสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย’ (29 ธันวาคม 2566) <https://www.thairsc.com/data-compare> สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2566.

สมยศ เชื้อไทย, คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง หลักทั่วไป : (พิมพ์ครั้งที่ 30, วิญญูชน 2566).