บทความวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เข้าฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ICH)

2021-11-27

บทความวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน ได้รับคัดเลือกจำนวน 8 บทความ เพื่อเข้าฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ICH) ซึ่งดูแลโดยประเทศญี่ปุ่น

                26116401new.jpg

สืบเนื่องจาก อาจารย์กษิด์เดช เนื่องจํานงค์ อาจารย์ประจําหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คู่ความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์วิจัยนานาชาติด้านมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศญี่ปุ่น ได้ประสานมายังวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน ขอนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ จำนวน 8 บทความ เพื่อไปจัดเก็บในฐานข้อมูลและเผยแพร่ทางเว็บไซต์และช่องทางอื่น ๆ ภายใต้โครงการ “Sustainable Research Data Collection for ICH Safeguarding in the Asia Pacific Region (FY 2021)” เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้าและการวิจัย ทางด้านมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

รายละเอียดบทความที่ได้รับการคัดเลือก
1.การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดน่าน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: //bit.ly/3p4mYaG

2.ภาษิต สำนวน : ภาพสะท้อนโลกทัศน์ของคนไทยต่อผู้หญิง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: //bit.ly/30Xg6nd

3.วัจนกรรมจากคำเอิ้นขวัญในพิธีกรรมรักษาโรคของหมอเหยาชาวผู้ไทย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: //bit.ly/3xmCORY

4.การศึกษาภาพสะท้อนสังคมในวรรณคดีเรื่อง “พระสี่เสาร์กลอนสวด”
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: //bit.ly/3126esL

5.การพัฒนาอาหารท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อหนุนเสริมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: //bit.ly/3l9aDB9

6.การแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ภูมิปัญญาการรักษาและการพัฒนาสู่รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสุขภาพ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: //bit.ly/3r9jSVC

7.การศึกษาประเพณีแย่งศพมอญ กรณีศึกษางานฌาปนกิจศพพระครูกาญจนสารกิจ อดีตเจ้าอาวาสหม่องสะเทอ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: //bit.ly/3xnmJLL

8.การจัดการความรู้ในการดำเนินการประเพณีตานต๊อด ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: //bit.ly/3FS8n9l