องค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน องค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ธนากร เที่ยงน้อย
พัฒนา สุขประเสริฐ
เฉลิมพล จตุพร

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย วิเคราะห์แยกแยะประเภทองค์กรชุมชนและระดับการพัฒนาขององค์กรชุมชนและสังเคราะห์ตัวชี้วัดความสำเร็จและแบบทดสอบความสำเร็จขององค์กรชุมชนที่มีวัตถุประสงค์ด้านการส่งเสริมอาชีพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวทางการวิจัยผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากองค์กรชุมชนที่เป็นกรณีศึกษาโดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) พื้นที่เป้าหมายหลักคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 12 องค์กร พื้นที่เป้าหมายรองคือ องค์กรชุมชนทั่วประเทศที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 องค์กร ผลการศึกษาพบว่า องค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพในประเทศไทยมีลักษณะความเป็นปัจเจกองค์กร หมายถึง การจัดตั้ง การบริหารจัดการ การดำเนินกระบวนการ วิธีคิดขององค์กรต่าง ๆ มีความแตกต่างกันไม่สามารถใช้รูปแบบความสำเร็จขององค์กรใดองค์กรหนึ่งมาเป็นตัวอย่างให้แก่องค์กรอื่น ๆ ได้ การวิเคราะห์แยกแยะประเภทองค์กรชุมชนและระดับการพัฒนาขององค์กรชุมชนพบว่า องค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพในประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม 1.องค์กรชุมชนที่ขับเคลื่อนด้วยแนวคิดผลทางธุรกิจ (ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจทุนนิยม) 2.องค์กรชุมชนที่ขับเคลื่อนด้วยแนวคิดความผสมผสาน (ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจสายกลาง) 3.องค์กรชุมชนที่ขับเคลื่อนด้วยแนวคิดความเสียสละ (ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจชุมชน) นำผลการวิจัยมาสังเคราะห์เป็นแนวทางการขับเคลื่อนขององค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แล้วนำผลที่ได้ไปวัดเจตคติของผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาองค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพ จำนวน 15 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นด้วยมากถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการมีอยู่และแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถสรุปแนวคิดพื้นฐานขององค์กรชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้ว่า “ไม่ปฏิเสธทุนนิยม สังคมและชุมชนยอมรับ ปรับชีวิตให้มั่นคงได้ มีศักดิ์ศรี ภาคภูมิใจ ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน”

Downloads

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Achavanuntakul, S. (2010). Capitalism is alive, business has heart. Bangkok: Matichon.Bradley JR., R. & Donway, R. (2010, Summer). Capitalism, Socialism, and “the Middle Way”. The Independent Review, 15(1), 71–87.

Charoenwongsak, K. (2000). Medium current economy : Direction of Thai Economy in the Future. Bangkok: Dansutthakanphim.

Chonchuapsong, L. (2014). Community way community business knowledge management. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ganjanapan, A. (2006). Economic culture in an un-cultured economy. Bangkok: khopfai.

Julpongsathorn, S. (2007). Economic aspects of community based on rice mills in Thailand. Bangkok: Siam Publishing.

Kasemsuk, J. (2014). Public Participation Approach for Sustainable Community Development. Bangkok: Active print.

Muhammad, Y. (2019). A world of three zeros. (P. Pongpanit, Trans). Bangkok: Matichon.

Natsupha, C. (2001). Theory of two systems from the village history. Surindra: Surindra Rajabhat Institute.

Phongphit, S. (2007). How to do community Economic Life Plan. Bangkok: Charoen Wit Printing House.

Phothisita, C. (2013). Art and science of qualitative research. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Prayukvong, W. (2020). Buddhist economics & entrepreneurship : foundation. Bangkok: Spy Publishing.

Rundgren, G. (2014). Garden Earth: From Hunter and Gatherer to Global Capitalism and Thereafter. (K. Deeprawat, C. Deeprawat, V. Phurithanasarn, & K. Natchananonthep, Trans.) Bangkok: Suan Nguen Mee Ma.

Satayanurak, A. (2016). From "farmer" to "entrepreneur" get better in financial status. Bangkok: Matichon.

Thiengnoi, T. & Sukprasert, P. (2014). Success Indicators Development for Career Promotion of Community Organization. Songklanakarin : Journal of Social Sciences & Humanities, 20(4), 241–271.

Uphoff, N. (1986). Local Institutional Development. Connecticut : Kumarian Press. Wetyasuporn, P. (2009, August 28). A Warning From Joseph Stiglitz. Komchadluek, p.11.