เพลงพื้นบ้านแห่นาค จังหวัดพิษณุโลก เพลงพื้นบ้านแห่นาค จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

โสภณ ลาวรรณ์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพลงพื้นบ้านในประเพณีเขย่าแลแห่นาค อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก  และเพื่อวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านแห่นาคในมิติสังคีตลักษณ์วิเคราะห์เพลงไทยและมิติทางสังคมวิทยา  ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการลงพื้นที่ภาคสนามในงานประเพณีปักธงชัยเดือนพฤศจิกายน 2559 ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วมนำข้อมูลมาจัดกระทำตามกระบวนการวิจัย พบว่า ประชากรมีวิถีชีวิตด้านการเกษตร และประชาชนมีการอพยพย้ายถิ่นมาจาก 3 จังหวัด กลุ่มใหญ่ ๆ คือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ  อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย   นำวัฒนธรรมประเพณีเขย่าแลแห่นาคติดตามมาในพื้นที่อำเภอนครไทยด้วย ซึ่งความหมายของการเขย่าแลแห่นาคนั้น ให้ระลึกถึงบุญคุณของมารดาขณะคลอดบุตรและมีความอดทนต่ออุปสรรคต่าง ๆ ในระหว่างการขึ้นคานหาม (แล) ไปยังพระอุโบสถเพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนา จึงมีการร้องเพลงพื้นบ้าน “เพลงแห่นาค” เป็นวัฒนธรรมที่กลุ่มคนอำเภอนครไทยสร้างขึ้นจากวิถีชีวิตของบริบททางสังคม  เพลงพื้นบ้านแห่นาคมีลักษณะที่เป็นอัตลักษณ์ของเพลงพื้นบ้านที่มีทำนองไม่ซับซ้อน เน้นความสนุกสนาน สอดแทรกวิถีชีวิต ทำนองเนื้อร้องในมิติสังคีตลักษณ์เพลงไทย จัดอยู่ในอัตราจังหวะ 2 ชั้น เสียงเพียงออล่าง อยู่ในบันไดเสียง (ฟ ซ ล  ดํ รํ) มีความยาวของสร้อยเพลง 4 หน้าทับ และทำนองเนื้อร้องมีความยาว 4 หน้าทับ เช่นกัน เว้นแต่จะมีเนื้อร้องเพิ่มเข้ามาด้วยปฏิภาณของผู้ร้อง รูปแบบกลุ่มเสียงส่วนมาก ( -X -X) เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะรูปแบบ ( -2 -4) เป็นจังหวะยกกับจังหวะตก ซึ่งชี้ให้เห็นถึงทำนองที่เรียบง่ายตามจังหวะปรบมือของผู้ร้องเล่นเพลงเพลงพื้นบ้านแห่นาคในมิติทางสังคมวิทยา สามารถสะท้อนพฤติกรรมของมนุษย์ใน 2 ส่วนคือ  ส่วนที่ 1 ส่วนที่สะท้อนความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและความคิด  ซึ่งในเนื้อร้องได้บ่งบอกถึงความกตัญญูของคนในสังคมสมัยนั้นที่กล่าวถึงพระคุณของบิดามารดา  ส่วนที่ 2 ส่วนที่สัมพันธ์ต่อวิถีชีวิต เพลงแห่นาคสามารถสะท้อนวิถีชีวิตของคนในสังคมนั้นผ่านเนื้อร้องในแบบพื้นบ้านที่สามารถเข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อน  สื่อสารให้คนในยุคปัจจุบันสามารถทำความเข้าใจได้อย่างดี

Downloads

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Banchongsin, O. (1997). Analysis of the structure of linguistic melodies in Thai music. Bangkok: Chulalongkorn University Language Institute.

Chayanan, S. (2019, April 27). Interviewed. Abbot of Wat Klang, Nakhon Thai District, Phitsanulok Province.

Eowsrewong, N. (2005). Relationship culture. Bangkok: Printing.

Kaewmongkhon, A. (2019, March 26). Interviewed. Folk music speakers.

Khanthawat, Y. (2019, March 26). Interviewed. Folk music speakers.

Phukhaothong. S. (1998). Thai music and the entrance to Thai music. Bangkok: Ruenkaew Printing.

Sokhatiyanurak, N. (1999). Musical Form and Analysis. Bangkok: Chulalongkorn University Language Institute.

Thai Encyclopedia for Youth. (2015, Online). Folk songs. Retrieved from http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/.

Wansiri, N. (1997). Social and cultural anthropology. Bangkok: Expernetbooks.