การพัฒนาคุณภาพเสียงกลองยาวอีสาน การพัฒนาคุณภาพเสียงกลองยาวอีสาน

Main Article Content

จักรพงศ์ เพ็ชรแสน
สุรพล เนสุสินธุ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพเสียงกลองยาวอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของกลองยาวอีสาน และเพื่อพัฒนาคุณภาพของเสียงกลองยาวอีสาน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งทำการศึกษาจากเอกสารข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ และจากการสัมภาษณ์และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มานำไปสู่การสร้างกลองยาวอีสาน ทดลองเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปของการพัฒนาคุณภาพเสียงกลองยาวอีสาน ผลการศึกษาพบว่าด้านพัฒนาการของเสียงกลองยาวอีสาน แต่เดิมกลองยาวอีสาน ถูกสร้างขึ้นมาโดยผู้คนที่อยู่ร่วมกันในชุมชน เพื่อเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในกิจกรรมงานบุญประเพณีในหมู่บ้าน สร้างจากวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีอยู่ในท้องถิ่น ต่อมาเริ่มมีการว่าจ้างวงกลองยาว ซึ่งถือว่าเข้าสู่ยุครับงาน ว่าจ้างงานที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินค่าจ้าง ได้มีการรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีต่าง ๆ เข้ามา ทำให้เกิดการพัฒนาจังหวะ ลีลาการตีที่เกิดการผสมผสานกันกับเครื่องดนตรีประเภทบรรเลงทำนอง จนกระทั่งได้เกิดการตระหนักในการรักษาสืบทอด และเพื่อพัฒนาการบรรเลงกลองยาว ได้เกิดการจัดเวทีการประกวดต่าง ๆ โดยมีกติกาหรือเกณฑ์การประกวดที่ยึดโยงทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการบรรเลงและการแสดง เวทีการประกวดได้กลายเป็นเครือข่ายและพื้นที่หนึ่งสำหรับคนที่สนใจในกลองยาวได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนกัน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของเสียงกลองยาวอีสาน ผู้วิจัยได้พัฒนา ปรับปรุง ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกลองยาวอีสานให้มีลักษณะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคมในปัจจุบัน อาทิ ด้านความสวยงาม ทันสมัย สะดวก น้ำหนักเบาและคงทน ซึ่งจากการทดลองกลองยาวอีสานที่สร้างขึ้นใหม่โดยใช้ไม้ทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วย ไม้ประดู่ ไม้ขนุน ไม้จามจุรี กลองยาวอีสานที่ผลิตขึ้นมาใหม่มีลักษณะของเสียงที่ใสและกังวาน กล่าวได้ว่าคุณภาพเสียงตามอุดมคติของกลองยาวอีสานที่ดีขึ้น ด้วยลักษณะของพื้นผิวภายในโพรงที่มีลักษณะเป็นคลื่นหรือร่องหลุมภายในโพรงทำให้เกิดการสะท้อนของเสียงเพิ่มขึ้นมากกว่าการทำพื้นผิวภายในโพรงแบบเรียบเสมอและลักษณะของคลื่นสัญญาณเสียงที่ปรากฏจากการทดลองมีความกว้างและลากยาวมากกว่ากลองยาวอีสานแบบเก่าที่มีลักษณะเสียงใสกังวาลแต่ลักษณะของคลื่นสัญญาณเสียงไม่กว้างและยังมีลักษณะสัญญาณเสียงที่สั้นและลดหายลงอย่างรวดเร็ว


 

Downloads

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Champadaeng, S. (2018). Long drums in the culture Ways Wapipathum district Mahasarakham province. Journal of Fine and Applied Arts, 10(1), 91-109.

Chonphairote, C. (2020, August 14). Interview. Assistant Professor, College of Music, Mahasarakham University, Mahasarakham.

Intarakaew, C. (2019). Nationalism Music after Coup D’état on 22 May 2014. (Master’s Thesis). Khon Kaen University, Khon Kaen.

Phonkhet, Y. (2020, September 3). Interview. Local wisdom elite, Bunditpatanasilpa Institute, Roi-Et.

Pikulsri, C. (2017). Changes in Music. Khon Kaen: Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University.

Piratanatsakul, K. (2020, August 30). Interview. Senior Professional Level Teachers, Kanlayanawat School, Khon Kaen Secondary Educational Service Area Office, Khon Kaen.

Prathumsint, S. (2020, August 18). Interview. National Artist, Roi-Et.

Tinnarat, H. (2020, August 18). Interview. Local wisdom elite, Khon Kaen.