การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เยี่ยมเยือนกลุ่มวัยรุ่นในพิพิธภัณฑ์ แบบอินเตอร์แอคทีฟและนิเวศพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เยี่ยมเยือนกลุ่มวัยรุ่นในพิพิธภัณฑ์ แบบอินเตอร์แอคทีฟและนิเวศพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย

Main Article Content

เพชรศรี นนท์ศิริ

บทคัดย่อ

พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งนันทนาการที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้เยี่ยมเยือนกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์แบบอินเตอร์แอคทีฟและนิเวศพิพิธภัณฑ์ การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการเรียนรู้จากประสบการณ์การเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์ของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยใช้ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์เป็นตัวแทนของพิพิธภัณฑ์แบบอินเตอร์แอคทีฟ และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เป็นตัวแทนของนิเวศพิพิธภัณฑ์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ทางตรงกับผู้เยี่ยมเยือนกลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 20 คน ผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เป็นกรอบการศึกษาเชิงทฤษฎี ผลการศึกษาพบว่า การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เยี่ยมเยือนกลุ่มวัยรุ่น แบ่งออกเป็นสามขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่หนึ่ง ประสบการณ์การเยี่ยมเยือนและการแบ่งปันประสบการณ์ จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์การเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์แบบอินเตอร์แอคทีฟ คือ “ประสบการณ์เชิงการศึกษา” ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในการจัดแสดง และการปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่รอบอาคาร ในขณะที่รูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ในนิเวศพิพิธภัณฑ์เป็น “ประสบการณ์เชิงอารมณ์” ที่เกิดจากการจัดแสดงสิ่งของที่สร้างความรู้สึกโหยหาอดีต กิจกรรมเชิงปฏิบัติการและบรรยากาศรอบอาคารพิพิธภัณฑ์ ขั้นตอนที่สอง การวิเคราะห์และการสรุปความ พบปัจจัยที่ทำให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์สามประการ กล่าวคือ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางกายภาพ และขั้นตอนที่สาม คือการประยุกต์ใช้ ซึ่งสะท้อนความคิดที่เกิดจากการเรียนรู้ พบว่าผู้เยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์กลุ่มวัยรุ่นเกิดการตระหนักรู้ถึงการพัฒนาตนเอง มีการแบ่งปันเรื่องราวและมีแนวโน้มในการมาเยือนซ้ำ ความซาบซึ้งใจและความผูกพันต่อสถานที่ และการให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางให้แก่ผู้บริหารในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งนันทนาการที่สร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่สามารถดึงดูดผู้เยี่ยมเยือนกลุ่มวัยรุ่น ทั้งนี้ ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้เยี่ยมเยือนทุกกลุ่ม การจัดเตรียมเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ การนำเสนอกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองและปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือพื้นที่นอกอาคาร การออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามความสนใจเฉพาะกลุ่ม การเพิ่มสิ่งดึงดูดใจที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มวัยรุ่น เช่น ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ภูมิทัศน์ที่สวยงามและจุดถ่ายรูป

Downloads

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Black, G. (2005). The Engaging Museum: Developing Museums for Visitor Involvement (1st ed.). Routledge. https://doi.org/10.4324/9780203559277.

Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77 101.https://doi.org/10.1191/1478088706qp063oa

Bricker, K.S. Donohoe, H. (2015). Demystifying Theories in Tourism Research, CABI, ISBN 9781780646916

https://books.google.co.th/books?id =2KP9 sgEACAAJ

CCCDC (2010). Cultural consume barometer, retrieved from www.culturadata.ro

Dewy, J. (1938). Experience and education. New York: Collier Books.

Dodd, J., Sandell, R. (1998). Building bridges: Guidance for museums and galleries on developing new audiences. London: Museums & Galleries Commission.

Falk, J. & Dierking, L. (1992). The museum experience. Washington, DC: Whalesback Books.

François Hubert (1985) Ecomuseums in France: contradictions and distortions, Museum International, 37:4, 186-190, DOI: 10.1111/j.1468 0033.1985.tb00584.x

Gray, C. (2011). Museums, Galleries, Politics and Management. Public Policy and Administration 26(1): 45-61. https://doi.org/10.1177/0952076710365436.

Green, J., & Thorogood, N. (2004) Qualitative methods for health research (2nd ed., pp. 198-202). London: Sage Publications.

Gumjudpai, T. and Sittiwong, T. (2017). The study of cultural construction of meaning through Museum exhibition to promote self-directed learning, Journal of Education Naresuan University, vol. 21(4).

Hein, G. E. (2002). Learning in the Museum. Routledge.

Hooper-Greenhill, E. (1999). The educational role of the museum, Routledge, London-NY, pp. 3-27.

Hooper-Greenhill, E. (2007). Museum and education. Purpose, pedagogy, performance, Routledge, London-NY (2007).

Hubert, F. (1985). Ecomuseum in France: contradictions and distortions, Museum International, 37(4), pp. 186-190.

Jamieson, W. (1989). An Ecomuseum for the Crowsnest Past: Using Cultural Resources as a Tool for Community and Local Economic Development, Plan Canada, Vol. 25(5), pp. 14-24.

Karp, I., Mullen Kreamer, C., and Lavine, S.D.(1992). Museums and communities. The Politics of Public Culture, Washington-London: Smithsonian Institution Press.

Kayaras, N. (2014). Community-Based Ecomuseum: New Concept for Sustainable Tourism, Nakorn Patom, Rungsil Publishing.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Princeton, JN: Prentice-Hall.

Lune, H., & Berg, B. L. (2017). Qualitative Research Methods for the Social Science. Essex: Pearson Education Limited.

Matusov, E. & Rogoff, B. (1995). Newcomers and oldtimers: Educational philosophy of parent volunteers in a community of learners school. Unpublished manuscript.

Miles, M.B., Huberman, A.M. and Saldana, J. (2014). Qualitative Data Analysis: A Methods Sourcebook. Sage, London.

Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177 195. https://doi.org/10.1016/j.jsp.2005.04.003

NEMO (2015). Learning in Museums and Young People, A NEMO Report by LEM-The Learning Museum Working Group, Network or European Museum Organizations.

NEMO (2021). Emotions and Learning in Museums, A NEMO Report by LEM-The Learning Museum Working Group, Network or European Museum Organizations.

Oldershaw, B. (1988). ‘What is an Ecomuseum’ Cowichan and Chemainus Valleys Ecomuseum Newsletter.

Rennie, L. J., Johnston, D. J. (2004). The nature of learning and its implications for research on learning from museums. Science Education, 88(S1), S4-S16.

Sandell, R. (2003). Museums and the combating of social inequality: roles, responsibilities, resistance. In Museums, society, inequality. Routledge.

Sanyakoon, P., & Nonsiri, P. (2023). The Innovation of Interpretation for Tourism through ecomuseum. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 17(1), 146–162. https://doi.org/10.14456/psruhss.2023.11.

Seliverstova, O. (2017). “Consuming” national identity in Western Ukraine. Nationalities Papers 45(1), pp. 61-79.

SER, S. H. (2019). Engagement with Interactive Museum Collections: The Rise and Development of Interactive Museum Exhibitions in Thailand (2000 - 2019). Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 8(2), 77–86. Retrieved from thaijo.org/index.php/MFUconnexion/article/ view/241041

Silverman, L. H. (1995). Visitor meaning-making in museums for a new age. Curator, 38, pp. 161–170.

Walhimer., Mark. (2008). What is an interactive exhibit? https://museumplanner.org/what-is-an-interactive-exhibit/. Retrieved June 2019

Visudthiluck, S. (2017). Museum Practices: Lessons from Others. Academic Division, Museum Siam. https://issuu.com/academic-museumsiam/docs/92. Retrieved January 2022.

Vergo, P. (Ed.). (1997). New museology. Reaktion books.