การวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน บริเวณตลาดหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน บริเวณตลาดหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน บริเวณตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาโครงสร้างและความหมายของชื่อร้านค้าภาษาจีน รวมทั้งข้อมูลที่สะท้อนจากป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีน และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมชื่อร้านค้าภาษาจีนทั้งหมดที่ปรากฏอยู่บริเวณตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงสร้างและความหมายของชื่อร้านค้าภาษาจีน บริเวณตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถ แบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านรูปแบบและลักษณะของภาษา 2) ด้านภาษาโดยวิเคราะห์ตามประเภทโครงสร้าง 3) ด้านข้อมูลที่สะท้อนจากป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีน ผลการศึกษาพบว่า ในด้านของรูปแบบและลักษณะของภาษา ป้ายร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน บริเวณตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สะท้อนให้เห็นประเภทตัวอักษร ลำดับการอ่านอักษรจีน และสีของอักษรจีน ซึ่งชาวจีนใช้อักษรจีนตัวเต็ม (繁体) ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 และเป็นตัวอักษรจีนที่อ่านจากขวาไปซ้ายทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 โดยป้ายร้านค้าส่วนใหญ่นิยมใช้สีเหลืองหรือสีทองเพราะเป็นสัญลักษณ์ความเป็นสิริมงคล คิดเป็นร้อยละ 95.34 ในด้านของลักษณะภาษาโดยวิเคราะห์ตามประเภทโครงสร้าง พบว่าป้ายร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน บริเวณตลาดหัวรอ ใช้โครงสร้างเดี่ยว โครงสร้างประกอบ และโครงสร้างอื่น ๆ เป็นสำคัญ โดยป้ายชื่อร้านค้าส่วนใหญ่จะใช้โครงสร้างเดี่ยวโดยใช้ชื่อคนอย่างเดียวโดยคงแซ่ในภาษาต้นทางไว้ คิดเป็นร้อยละ 25 เนื่องจากเป็นการตั้งชื่อที่ไม่สลับซับซ้อน อีกทั้งยังเป็นการบ่งบอกถึงตัวตนของเจ้าของร้านได้อย่างชัดเจนอีกด้วย และในด้านข้อมูลที่สะท้อนจากป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนยังสะท้อนให้เห็นถึงตระกูลแซ่ของผู้ประกอบกิจการ ซึ่งพบแซ่ล้อ (罗) จำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.42 เนื่องจากชาวจีนแซ่ล้อนิยมเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าว และประเภทธุรกิจของผู้ประกอบการที่พบมากที่สุด คือ ร้านขายของชำ คิดเป็นร้อยละ 34.88
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chaiya, K., & Wiwatchot, K. (2015). Shrine and ethnic preservation of Thai-Chinese people in the area of the island of Ayutthaya. Ayutthaya: Phra Nakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.
Champapan, K. (2016). Ayutthaya from an international port city society to a world heritage site. Bangkok: Museum Press Publishing House.
Karanyadech, Y., Phathairak, S., & Limbut, P. (2023). A Survey and Analysis of Chinese Shop Signs : A Case Study of the Chinese Community in Ranong Old Market. Social science journal Political Science, 7(2), 115-134.
Sikkakoson. (2008). Evolution of Chinese characters. Sinlapawatthanatham Journal. Retrieved from
https://www.silpamag.com/history/article_66873
Sikkakoson. (2023). Why? Teochew Chinese people like to trade more than do government work. Sinlapawatthanatham Journal. Retrieved from https://www.silpa-mag.com/history/article_82460
Sriman, K. (1976). Chinese society in Thailand. (Master's thesis). Royal Thai Army College, Bangkok.
Sodsongkrit, M. (2012). A survey and analysis of Chinese Shop Names among Chinese Thais in the area of Muang District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Liberal Arts Ubon Ratchathani University, 8(2), 69-89.
Taengphan, P. (2014). Trade in Hua Ro Ayutthaya: From the River to the Road. Muang Boran Journal, 40(3), 33-45.
Thairath. (2021). Get to know the 5 Chinese clans, descendants of dragons in Thailand Revealing the origins of Chinese surnames. Thairath online. Retrieved from https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2030525
Wamwanit, M. (2024). Why are Chinese characters written from top to bottom? Move the line from right to left, Learn Chinese with “Chinese language.com”. Retrieved from https://pasajeen.com/chinese-characters-left-to-right/
Wongthet, S. (2023). Ayothaya is older than Sukhothai. Origin of Ayutthaya, Rattanakosin prototype. Retrieved from https://www.silpa-mag.com/ history/article_106970
Yothinsirikul, S.(2020). A study of language on Chinese-Thai shop names in the Yaowarat community: A case study of Chinese and Thai Shop Names. Silpakorn University Journal, 21(1), 55-76.