ศาสนาและความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติในภาษิตพม่า

Authors

  • ศิรพัชร์ ฌานเชาว์วรรธน์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มิ่ง ตันดา เตง ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

ศาสนา, ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ, สำนวนภาษิตพม่า, โลกทัศน์, อาเซียน, Religions, supernaturalism, Myanmar proverbs and idioms, Worldviews, ASEAN

Abstract

บทความชิ้นนี้อาศัยข้อมูลจากงานวิจัยเรื่องโลกทัศน์ของคนพม่าจากภาษิต ซึ่งเป็นโครงการย่อยภายใต้ชุดโครงงานวิจัยเกี่ยวกับโลกทัศน์ของอาเซียนจากภาษิต สำหรับโครงการวิจัยภาษิตพม่านั้น ผู้วิจัยได้รวบรวมและศึกษาจากสำนวนภาษิตจำนวน 750 สำนวน ผ่านกลวิธีการเก็บข้อมูลสองแบบ คือการรวบรวมสำนวนภาษิตจากเอกสารและการสร้างเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม โดยสุ่มตัวอย่างแบบไม่จำเพาะเจาะจงจากกลุ่มชาวพม่าในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และในประเทศราชอาณาจักรไทยจำนวน 150 ชุด การวิจัยพบว่า มีสำนวนภาษิตพม่าบางส่วนที่แสดงว่า มีแนวคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งที่เป็นแบบเทวนิยมและอเทวนิยมปรากฏอยู่ ในแง่ของข้อเท็จจริง ศาสนาแบบเทวนิยมและวิญญาณนิยมได้หยั่งรากลึกในสังคมพม่าก่อนพุทธศาสนา ดังนั้น ในเชิงหลักการแล้ว แม้ชาวพม่าจะนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่ไม่ให้ความสำคัญกับการมีอยู่ของพระเจ้าและไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าผู้สร้างโลกและผู้ทรงกำหนดชะตาชีวิตมนุษย์ แต่กลับปรากฏว่า มีสำนวนภาษิตของพม่าเกี่ยวกับพระเจ้าหรือพระพรหม พระอินทร์ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณที่มีอิทธิฤทธิ์เรียกขานกันว่านัต ตามคตินิยมของพม่าที่กลายเป็นสำนวนว่า จงรักพระพุทธเจ้าแต่จงเกรงกลัวนัต เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้พบภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโชคชะตาในแบบเทวลิขิตหรือชะตาลิขิตด้วย กล่าวโดยสรุป คือ ชาวพม่าส่วนใหญ่แม้ว่าจะนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทแต่ยังคงถือว่าพระเจ้า เทวดาและนัตมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทุกหมู่บ้านและวัดวาอารามเกือบทุกแห่งในประเทศ มีศาลบูชานัตอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าชาวพม่ามีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยไม่รู้สึกว่ามีความขัดแย้งกับความศรัทธาในพุทธศาสนา ทั้งนี้ในเชิงปรัชญา ต้องยอมรับว่าคตินิยมของชาวพุทธนั้น อาจจะมีส่วนสนับสนุนให้เชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ภพ ชาติและการเวียนว่ายตายเกิด นอกจากนี้ การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดระดับโลกุตรธรรมนั้น เป็นธรรมะที่อยู่เหนือจากโลกียวิสัยและพ้นขอบเขตการนิยามด้วยภาษามนุษย์ ย่อมมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ดูเหมือนว่าศาสนาพุทธไม่ได้ปฏิเสธสิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อในพุทธศาสนาทำนองนี้ ถือได้ว่าไม่เป็นไปตามหลักธรรมชาติวิทยาและวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ ผลการวิจัยสำนวนภาษิตพม่าที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติชิ้นนี้ นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า แนวทางการศึกษาและการวิจัยที่น่าสนใจนั้น ควรจะมีลักษณะแบบสหศรัทธาและสหวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์แบบผสมผสานของศาสนาต่างๆ และความเชื่อที่หลากหลาย ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่พบเห็นได้ ไม่ใช่เฉพาะแต่ในสังคมพม่าหรือสังคมไทยเท่านั้น แต่พบได้เช่นกันในทุกประเทศของประชาคมอาเซียน

 

Religions and supernaturalism in Myanmar Proverbs

This paper is based on our research entitled “The Worldviews of Myanmar from Proverbs” which is part of the project “The Worldviews of ASEAN from Proverbs”. For this sub-project, 750 Myanmar proverbs were studied and collected by combining two different methods: literature search and survey by questionnaire on about 150 Myanmar people both in the Republic of the Union of Myanmar and in the Kingdom of Thailand. This research reveals that some of Myanmar beliefs show that theism and animism were rooted in Myanmar before Buddhism. So if, in principle, Myanmar people believe in Theravada Buddhism which ignores the existence of a God-Creator and of a theistic determinism or fatalism, Myanmar sayings and proverbs indicate that they respect God(s) and nats; holy or powerful spirits: “Love the Buddha, fear the nats”. We can find some Myanmar beliefs in fate that sound the important role of God(s). Most of Myanmar Theravadins consider God(s) and nats as an important part of their daily life. Indeed, every village and most of Buddhist temples in Myanmar have a nat shrine. However, one can say that they believe in God(s), fate and nats without any sense of contradiction with Buddhism. Some part of Buddhist philosophy may support the supernaturalism. The traditional belief about the law of Karma is a kind of “unnatural causal continuum” of actions; Karma-vipaka which will be kept in sub-consciousness and continue in cycle of karmic rebirths until it attains Nirvana. Moreover, the teaching of “right” actions in Buddhism about Salvation (Nirvana) which is something pre-linguistic and supra-mundane seems contrary to the principles of natural or empirical sciences. Our research about the supernaturalism as found in Myanmar proverbs leads us to the conclusion that an interfaith or intercultural theme is one of the most interesting researches and studies to understand this phenomenon, not only in Myanmar or in Thailand but also in all ASEAN countries.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)