ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทพ่าเกในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
Keywords:
ไทพ่าเก, รัฐอัสสัม, อินเดีย, ประวัติศาสตร์สังคม, วัฒนธรรม, TAI PHAKE, ASSAM, INDIA, SOCIAL HISTORY, CULTUREAbstract
ไทพ่าเกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับชาติพันธุ์ไทใหญ่ ที่อาศัยตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ทั่วไป ตั้งแต่บริเวณตอนเหนือของประเทศพม่า ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รวมทั้งภาคเหนือของไทยและลาว การตั้งถิ่นฐานจะอาศัยอยู่ตามพื้นราบลุ่มริมแม่น้ำและหุบเขา ชาวไทพ่าเกอพยพเข้ามายังรัฐอัสสัมใน พ.ศ. 2319 โดยเดินทางข้ามภูเขาปัตไกซึ่งเป็นพรมแดนกั้นระหว่างพม่าตอนเหนือ และอินเดียฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวไทพ่าเกปกครองชุมชนด้วยระบบ “พัน” ที่สืบเชื้อสายการปกครองจากคนในตระกูลเดียวกัน ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมเป็นแบบดั้งเดิมและเรียบง่าย ปอย หรือประเพณีทางศาสนามีความสำคัญต่อวิถีชีวิต ความเชื่อในประเพณีการเกิด ประเพณีการตาย มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับประเพณีดั้งเดิมของไทย
บทบาท สถานภาพและการดำรงอยู่ของไทพ่าเกที่ทำให้วัฒนธรรมไทพ่าเกมีลักษณะไทดั้งเดิมพิจารณาได้จากปอย ผู้หญิง และข้าวไท ชาวไทพ่าเกให้ความสำคัญกับการจัดประเพณีทางศาสนาเพื่อแสดงความเข้มแข็งของชุมชน รูปแบบการจัดประเพณีไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีการปรับเล็กน้อยในเรื่องของวัตถุดิบในการจัดการ ผู้หญิงไทพ่าเกอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้ชายและมีบทบาทสำคัญในฐานะแม่ และข้าวไท ที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ชาวไทพ่าเกใช้ “กระบวนการเรียกขานข้าว” เพื่อแสดงความมีตัวตนอย่างชัดเจน
Social History and Culture of the Tai Phake of Assam, India
The Tai Phake of Assam are Tai same as Tai Yai who settlements in the flat lowland river and the valley varied on the North of Myanmar, South West of China and North part of Loas and Thailand. The Tai Phake migrated to Assam in 1776 by crossing Patkai range where are border between North part of Myanmar and North East of India. The administrative unit of Tai Phake community is “Phan” (lineage) system. Social and cultural characteristics are traditional and simple. Religious traditions during the year are important for Tai Phake’s living life. The beliefs in the tradition of death and birth are similar to traditional of Thai in some parts.
The roles, status and existence of the Tai Phake of Assam have showed tradition Tai characteristics. These considerate from “Poi” (festival holding), Tai Phake focused all year arrangement to encourage power and community strengths. Moreover, pattern for arrangements not much change but, some has adjust in material using. The women role is also factor for the consideration, they have important role for human success and renew of next generation. Whereas Tai rice is the cultural symbol, the Tai Phake has system “Rice Cited” to indicate the attribute of cultural traits of them.