ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
การลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนชายแดนภาคเหนือไทย-ลาว-พม่า: สถานการณ์และแนวทางการสร้างกลไกความร่วมมือในการควบคุมระหว่างไทยและเพื่อนบ้าน
Keywords:
การลักลอบ, บุหรี่เถื่อน, ชายแดนภาคเหนือไทย-ลาว-พม่า, ความร่วมมือและการควบคุม, Smuggling, Contraband Cigarettes, Northern Border of Thai-Lao-Myanmar, Cooperation and ControlAbstract
บทความเรื่อง “การลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนชายแดนภาคเหนือไทย-ลาว-พม่า: สถานการณ์และแนวทางการสร้างกลไกความร่วมมือในการควบคุมระหว่างไทยและเพื่อนบ้าน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์/รูปแบบและปัจจัยการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนบริเวณชายแดนไทย-ลาว-พม่า โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มร้านค้าปลอดภาษี/ร้านค้าบุหรี่เถื่อน และกลุ่มผู้ลักลอบค้า ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์การลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนในชายแดนทางภาคเหนือไทย-ลาว-พม่า มีการลักลอบบุหรี่เถื่อน 3 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกบุหรี่ปลอมยี่ห้อต่างประเทศ ลักษณะที่สองบุหรี่ยี่ห้อต่างประเทศที่ไม่เสียภาษี และลักษณะที่สามบุหรี่ปลอมของไทย โดยเส้นทางในการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนมี 2 เส้นคือเส้นทางบก ผ่านถนนสายหลักคือ R3A ที่เชื่อมจีนตอนใต้ ลาวและเข้าสู่ไทยผ่านทางอำเภอเชียงของ และเส้นทาง R3B ที่เชื่อมจีนตอนใต้ พม่า และเข้าสู่ไทยทางอำเภอแม่สาย และเส้นทางที่สองคือทางลำน้ำโขงโดยมาทางเรือร่วมกับสินค้าอื่นๆเข้าสู่ทางอำเภอเชียงแสน ซึ่งรูปแบบการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนมี 2 รูปแบบคือ รูปแบบแรก เป็นการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนขนาดเล็ก และรูปแบบที่สอง เป็นแบบการลักลอบขนาดใหญ่เป็นขบวนการในระดับอนุภูมิภาค มีกลุ่มขบวนการ TBC: Thai-Burma-China เป็นกลุ่มหลักที่ทำการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนในลุ่มน้ำโขงตอนบน ขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนมีดังนี้ 1) ปัจจัยของโครงสร้างภาษีบุหรี่ในประเทศ 2) ปัจจัยการเปิดตลาดการค้าเสรี 3) ปัจจัยการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 4) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคจากเศรษฐกิจระบบปิดมาเป็นระบบเปิด 5) ปัญหาความไม่สงบและเป็นเอกภาพของรัฐในพม่ากับชนกลุ่มน้อย 6) ลักษณะทางภูมิศาสตร์และช่องทางที่สะดวกตามแนวชายแดนของไทย-พม่า-ลาว 7) การยอมรับของประชาชนต่อบุหรี่ในพื้นที่ชายแดน 8) ผลตอบแทนการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนมีมูลค่าสูง 9) กระบวนการผลิตบุหรี่เถื่อนค่อนข้างทำได้ง่ายและกระจายสินค้าได้อย่างกว้างขวาง และ 10) การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายไม่เข้มงวดและขาดประสิทธิภาพ 11) แรงงานข้ามชาติที่สูบบุหรี่
ส่วนแนวทางการสร้างกลไกความร่วมมือในการควบคุมบุหรี่เถื่อนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านนั้นควรมีการดำเนินการดังนี้ ประการแรก แนวทางการสร้างกลไกความร่วมมือควบคุมบุหรี่เถื่อนระหว่างรัฐในพื้นที่ชายแดนติดต่อกันและภูมิภาคอาเซียนโดยต้องมีการสร้างความร่วมมือทางการบริหารจัดการร่วมกันผ่านการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานร่วมในระดับภูมิภาคอาเซียน ประการที่สอง แนวทางการสร้างกลไกความร่วมมือทางกฎหมายควบคุมบุหรี่เถื่อนระหว่างประเทศ ประการที่สาม แนวทางการสร้างกลไกความร่วมมือเกี่ยวกับมาตรการภาษีควบคุมยาสูบในภูมิภาคอาเซียน และ ประการที่สี่ แนวทางการสร้างกลไกความร่วมมือควบคุมบุหรี่เถื่อนขององค์กรต่างๆระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค การต่อต้านบุหรี่จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือในลักษณะของพหุภาคีที่ต้องมีภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Contraband cigarettes smuggling in northern border of Thai-Lao-Myanmar: Situation and guidelines to create mechanisms for cooperation and control between Thailand and its neighbors
Article titled “Contraband cigarettes smuggling in northern border of Thai-Lao-Myanmar: Situation and guidelines to create mechanisms for cooperation and control between Thailand and its neighbors”.The objective aim was to study the situation/form and factors on trafficking illegal cigarettes in the areas of northern Thailand bordering with Laos and Myanmar.This research used in-depth interviews: group discussion,observations in government civil groups, duty free shops, trafficking contraband of illegal cigarettes and trafficking groups with content analysis data.
The results showed that the situation of illegal cigarette trafficking on the border of northern Thailand-Laos–Myanmar was of 3 types: first type was counterfeit cigarettes from a foreign brand; second type was duty free cigarettes from foreign brands and third type was counterfeit cigarettes from Thailand.There were 2 routes on illegal contraband trafficking: first route was R3A on the ground through the main road that connects with southern China, Laosand intoThailand through Chiang Khong and R3B routes that connect to southern China, Myanmar and intoThailand via Mae Sai.The second route was via the Mekong River by boat with other products into the Chiang Saen District. This had 2 distinct forms of trafficking: first form was of a small smuggling nature and second form was a larger smuggling contraband movement in the sub-region. It was this TBC movement group: Thai-Burma-China that were the main smugglers of illegal cigarettes in the upper Mekong River region. While the factors that influence the trafficking of illegal cigarettes were as follows. 1) Structural factors on cigarette taxes in the country. 2) Trade liberalization factors. 3) Influence of China in the Mekong region growth factor. 4) Economic and political changes in the region from a closed to an open economy system. 5) Unrestand the universal problems of the state in Burma and with minority groups.6) Geography and convenient channels along the borders of Thailand- Burma-Laos.7) Acceptance of people on cigarettes in the border areas.8) High value on trafficking illegal cigarettes and high returns.9) Rather simple to manufacture illegal cigarette smuggling systems and processes and wide distribution and 10) Non enforcement measures, strict laws and in efficiencies. 11) Transnational labor as smoking.
The guidelines establish a mechanism for cooperation in controlling illegal cigarette smuggling between Thailandand neighboring countries that should be performed as follows.Firstly, guidelines forcreating cooperation mechanisms controlling illegal cigarette smuggling between the government agency in the border consecutive areas and the region must have formal joint management partnerships through the establishment of an organization or agency engaged in the Asian region.Secondly, guidelines to establish mechanisms of cooperation and national laws to regulate international illegal cigarette smuggling.Thirdly, guidelines to establish mechanisms of cooperation regarding taxes on tobacco control in the region and fourthly, guidelines forestablishing mechanisms of cooperation on controlling illegal cigarette smuggling with an international organisation in the region.For anti-tobacco agencies we need to establish cooperation in the multilateral nature of governmenta gencies, non-government organizations,people and stakeholders