การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ

Authors

  • สุทิน อ้อนอุบล นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มนตรี กรรพุมมาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พัชรินทร์ สิรสุนทร รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการ, กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น, Participation, Management, Local Health Security Fund

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นของจังหวัดชัยภูมิ และเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นของจังหวัดชัยภูมิ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม(Mixed Methodology Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกำหนดการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1)การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพท้องถิ่น 2)การสร้างข้อเสนอสำหรับการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น และ 3) การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์เจาะลึก จากคณะกรรมการบริหารกองทุนและประชาชน ในกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเบื้องต้น 6 กองทุน และศึกษาแบบเจาะลึกในกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 3 กองทุน  การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จำนวน 119 กองทุน จากคณะกรรมการบริหารกองทุนและประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การตีความ การสังเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการทดสอบไค-สแควร์

ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนอยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการคิด การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุน ได้แก่ ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับกองทุนน้อย และไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมกองทุน แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นมีองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างองค์กร การพัฒนาการบริหารงบประมาณ และการพัฒนาการบริหารจัดการ โดยแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นมีสามแนวทาง ได้แก่ แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นที่ชุมชนมีส่วนร่วมระดับน้อย แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นที่ชุมชนมีส่วนร่วมระดับปานกลาง และแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นที่ชุมชนมีส่วนร่วมระดับมาก

 

THE DEVELOPMENT OF COMMUNITY PARTICIPATION IN MANAGING LOCAL HEALTH SECURITY FUND IN CHAIYAPHUM PROVINCE

The objectives of this research were 1) to study of community participation in managing local health security fund in Chaiyaphum province and 2) to develop community participation in managing  local health security fund in Chaiyaphum province. This research used mixed methodology approaches both qualitative and quantitative methods in three research phases including : 1) to investigate community participation in managing local health security fund, 2) to create a proposal for the development of community participation in managing local health security fund, and   3) to provide guidelines of the community participation process in managing of local health security fund. Data collection techniques were focus group discussion, interview guideline, in-depth interviews of 9 local health security fund, and survey of 119 of local health security fund in Chaiyaphum province. Data were analyzed by using content analysis, interpretation, synthesizing information, descriptive statistics, and chi – square test.

The results found that:  The community participation of the management of funds were moderated in all aspects of participation including opinion expression, the decision –making, implementation, monitoring and benefit obtained. Barriers to the participation of communities in the managing of local health security fund were lack of knowledge on local health security fund, and lack of joining time in local health security fund.The guidelines for development of community participation were planned in organization development, budget allocation and management techniques.

There were three model guidelines for development of community participation in local health security funds which depended on three types of local health security funds: Active, Moderate and Less active in people participation levels of local health security funds.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)