หว่า : ภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศจีนตามทรรศนะของนักวิชาการจีน

Authors

  • เมชฌ สอดส่องกฤษ รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Keywords:

หว่า ว้า-ปะหล่อง, มอญ-เขมร, ออสโตรเอเชียติก, Va, Wa – Palaungic, Mon-Khmer language family, Austro-Asiatic

Abstract

ในประเทศจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ 56 กลุ่ม ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 กลุ่มที่พูดภาษาตระกูลมอญ -  เขมร คือ ชนกลุ่มน้อยเผ่าปลัง (Blang) ชนกลุ่มน้อยเผ่าเต๋ออ๋าง (De'ang) และชนกลุ่มน้อยเผ่าหว่า (Va) ชนเผ่าทั้งสามกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณจีนตอนใต้ ได้แก่เขตมณฑลยูนนานและกวางสี ทั้งยังมีการอพยพโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนของประเทศใกล้เคียงรวมถึงภาคเหนือของประเทศไทยด้วย บทความวิชาการเรื่องนี้นำเสนอในเชิงพรรณนาเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาหว่าในประเทศจีน โดยมีหัวข้อหลัก 5 เรื่อง คือ 1.การจัดแบ่งตระกูลภาษา 2.ระบบเสียง 3.วงคำศัพท์และระบบไวยากรณ์ 4.ภาษาถิ่น และ 5.ภาษาเขียน

 

Va : Chinese Scholars’ Perspectives on Mon-Khmer Languages in China

In China, 56 ethnic groups are officially endorsed by the Chinese government. Of these, 3 are members of the Mon-Khmer family, namely, the Blang, the De’ang, and the Va ethnic minorities. These three groups live scatteredly in Southern China including Yunnan Province and Guangxi Region. They also migrate across borders to settle along the borders of neighboring countries including northern Thailand. This academic article offers a linguistics information of the Va ethnic minority based on data gathered from written documents, views, and perspectives of Chinese scholars. The article consists of 5 detailed sections: 1.Language family classification of Va, 2. Phonology, 3.Word system and grammar, 4.Dialect and 5.Writing system. 

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ (Academic Article)