การศึกษาภาพสะท้อนสังคมในวรรณคดีเรื่อง “พระสี่เสาร์กลอนสวด”

Authors

  • วนิดา บำรุงไทย อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • เกศรินทร์ คันธมาลา อาจารย์โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม

Keywords:

พระสี่เสาร์กลอนสวด, สิโสรชาดก, วรรณคดีพุทธศาสนา, ภาพสะท้อนสังคมไทยจากวรรณคดี, วัฒนธรรมไทย, Phra See Sao Klon Suad, Sisora Chadok, Buddhist literature, reflection of the Thai society from literature, Thai culture

Abstract

บทความวิจัยเรื่องนี้ เป็นผลการศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีเรื่อง พระสี่เสาร์กลอนสวด ซึ่งเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมุ่งศึกษาด้านภาพสะท้อนสังคมไทย ด้วยกระบวนวิธีวิจัยเอกสาร วรรณคดีซึ่งมีเนื้อหามาจากชาดกเรื่อง สิโสรชาดก เรื่องนี้ ไม่ปรากฏผู้แต่งและเวลาแต่ง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า นอกจากการสอนข้อธรรมะ แล้ว พระสี่เสาร์กลอนสวด ยังมีจุดเด่นในการบันทึกภาพสังคมไทยในอดีตอย่างน่าสนใจ กล่าวคือ ในด้านการเมืองการปกครอง สะท้อนการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และคุณลักษณะและบทบาทของกษัตริย์ในบางประการด้านเศรษฐกิจ สะท้อนว่าสังคมไทยโบราณประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมเป็นหลัก ในด้านครอบครัว สะท้อนความสัมพันธ์อันอบอุ่นของสถาบันครอบครัว และบทบาทของ สตรีในฐานะภรรยา ส่วนด้านวัฒนธรรม สะท้อนราชประเพณี วิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ และค่านิยมต่าง ๆ ด้านการศึกษา แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยในอดีตมีพระพุทธศาสนาและครอบครัวเป็นสถาบันสำคัญในการสั่งสอนอบรม ทั้งนี้ ผลการศึกษาทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนความนึกคิดส่วนหนึ่งของบรรพชนไทย ทั้งได้ตระหนักว่า สังคมไทยมีวัฒนธรรม ความ เป็นอยู่บางประการที่ดีงาม แต่บางสิ่งบางอย่างได้เสื่อมสูญไปแล้วจากวิถีชีวิตปัจจุบัน

 

A Study of the Social Reflections in the Literary Work “Phra See Sao Klon Suad”

This research article was derived from an analysis of the literary work titled “Phra See Sao Klon Suad”, a widely popular Buddhist literature during the early Rattanakosin period. The focus was to study the reflections of the Thai society using the documentary methodology. This literature whose content was based on Sisora Chadok was anonymous and the period of writing was unknown. The findings indicated that apart from the Dhamma instructions, “Phra See Sao Klon Suand” featured interesting reflections of the Thai society in the old days. For governments and politics, it reflected the reign of absolute monarchy and some characteristics and roles of a king. For economy, it gave a picture of an agricultural society of the old days. For family, it pointed out the closely knitted relations of the family and the roles of a woman as a wife. For culture, it revealed the royal traditions and the people’s ways of life, beliefs and values. For education, it showed that the Thai society in the past held onto Buddhism and the institute of family as vital to its education. The results of the study brought about knowledge and understanding of the life, ways of living and thinking of the ancestors of the Thai people. They suggested that the Thai society had once embraced good culture and ways of living, but some aspects of this decency have somehow disappeared from the modern ways of living.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)