วิถีอนุตตรธรรมกับการพัฒนาสังคมไทย กรณีศึกษา มูลนิธิเทิดคุณธรรม จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสำคัญของวิถีอนุตตรธรรมที่มูลนิธิเทิดคุณธรรม จังหวัดนครราชสีมา นำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาประชาชนในสังคมไทย และศึกษาปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความศรัทธาในวิถีอนุตตรธรรมของกลุ่มอาสาสมัครมูลนิธิเทิดคุณธรรม จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สังเกตแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน จากผลการศึกษา พบว่า 1) หลักการสำคัญของวิถีอนุตตรธรรมที่มูลนิธิเทิดคุณธรรม จังหวัดนครราชสีมา นำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาประชาชนในสังคมไทย คือ หลักการพัฒนาสังคม เริ่มต้นที่พัฒนาคน โดยการฟื้นฟูจิตเดิมแท้ดีงาม ส่งเสริมคุณธรรมความกตัญญู ศึกษาหลักธรรม คัมภีร์ธรรม หลักปรัชญาชีวิต ให้ประชาชนมีการศึกษาควบคู่กับการมีคุณธรรม เมื่อคนมีคุณธรรมจะช่วยให้ครอบครัว ชุมชน และสังคมเกิดความสงบสุข จึงนำไปสู่การสร้างภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมไปพร้อม ๆ กัน 2) ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความศรัทธาของกลุ่มอาสาสมัคร คือ มีความสนใจและเปิดใจศึกษาเรียนรู้ นำหลักธรรมมาปฏิบัติจนเกิดประจักษ์ผลในตน จึงนำไปสู่ความศรัทธาและสมัครใจเข้ามาเป็นอาสาสมัครร่วมกับมูลนิธิเทิดคุณธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Althusser, L. (1971). Ideology and Ideological State Apparatuses. In Lenin and philosophy and other essays (B. Brewster, Trans.). New York and London: Monthly Review Press.
Foucault, M. (1970). The order of things: An archaeology of the human sciences. New York: Vintage Book. 1973.
Foster, G. M. (1973). Traditional societies and technological change. New York: Harper & Row.
Lacan J. & Sheridan A. (1977). Ecrits: A selection (A. Sheridan, Trans.). New York: W.W. Norton and Company.
Awae Masae. (2012). Community of faith: Guidelines for social development based on religion and local culture in the southern border provinces (Research Report). Bangkok: Faculty of Social and Environmental Development, National Institute of Development Administration.
Nietzsche F. W. & Kaufmann W. (1974). The gay science; with a prelude in rhymes and an appendix of songs. New York: Vintage Books.
Rogers, E. M., & Shoemaker F. F. (1971). Communication of innovations: A cross-cultural approach. (2nd ed.). New York: Free Press.
Supanimit. (2004). The purpose of the preaching. Bangkok: Songserm khunphaph Chiwit.
Supanimit. (n.d.a). Eight faiths. Bangkok: Songserm khunphaph Chiwit.
Supanimit. (n.d.b). Faith leads to manifestation. Bangkok: Songserm khunphaph Chiwit.
Supanimit. (2006.). The power of the way of Anuttara Dharma. Bangkok: Songserm khunphaph Chiwit.
Taiwan Government information Office. (2006). Taiwan yearbook. Retrieved July 10, 2020 from http://www.gio.gov.tw/taiwan-website/5-gp/yearbook/22Religion.htm
WegoVegan Thailand. (2020). Vegetarian and vegan food. Retrieved December 18, 2020 from https://www.youtube.com/channel/UCL4fHuzkBlWJhXoVZaOFrUw