อาชีพสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพ: กรณีศึกษาหัวข้อสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2

Main Article Content

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ
ยูมิโกะ ยามาโมโตะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวโน้มอาชีพของนักศึกษาเอกวิชาภาษาญี่ปุ่น และ2) เพื่อศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพของผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่น วิธีวิจัยสำหรับการศึกษาสภาพปัจจุบันเป็นการวิจัยค้นคว้าจากเอกสาร และการศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพของนักศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจผ่านการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรม“อนาคตของฉันวันข้างหน้า” 2) กิจกรรม “ประวัติส่วนตัวเพื่อการวางแผนเส้นทางอาชีพ” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกสาขาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1 และ 2 จำนวน 74 คนในมหาวิทยาลัยของรัฐ วิเคราะห์และประมวลผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต สอบถามความเห็น และสรุปผลเชิงพรรณนาโวหาร ผลการศึกษาพบว่ามีความต้องการผู้รู้ภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นจากภาวะสังคมสูงวัยและนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เปิดรับแรงงานต่างชาติ อาชีพที่ผู้รู้ภาษาญี่ปุ่นชาวต่างชาติทำ 3 ลำดับแรกคือ นักแปลและล่าม พนักงานขายและการตลาด และ ผู้ประสานงานต่างประเทศ และทักษะที่จำเป็น 3 ลำดับแรกสำหรับนักศึกษาสายศิลป์ คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นและความร่วมมือ สำหรับความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพนั้น ในกิจกรรม “อนาคตของฉันวันข้างหน้า” กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 55 ต้องการทำงานเพื่อให้สามารถมีโอกาสไปทำงานอดิเรกหรือสิ่งที่ชอบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวางแผนปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อไปสู่ความสำเร็จในจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้  สำหรับกิจกรรม “ประวัติส่วนตัวเพื่อการวางแผนเส้นทางอาชีพ” พบว่า นักศึกษาเข้าใจความต้องการของตนเองแต่ยังไม่สามารถวิเคราะห์จุดแข็งของตนเองที่เชื่อมโยงสู่เส้นทางอาชีพและยังไม่มีแผนพัฒนาตนเองว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไปสู่เส้นทางอาชีพที่ต้องการ กล่าวคือ ความต้องการของตลาดแรงงานกับความคาดหวังของนักศึกษาผู้รู้ภาษาญี่ปุนไม่ตรงกัน ดังนั้นในการผลิตบัณฑิต ผู้สอนจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักตนเองมากยิ่งขึ้นและพัฒนากระบวนการทางความคิด (mindset) ของผู้เรียนผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลพูดคุยกับผู้อื่น และมีการวางแผนปฏิบัติเชิงรุกที่สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อให้การศึกษาสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Lave, J. & and Wenger, E. (1991). Situated Learning: Legitimate Peripheral Participation. Cambridge: Cambridge University Press.

経済産業省委託事業 (2017).「外国人留学生の就職及び定着状況に関する意識調査」新日本有限責任監査法人 Retrieved from file:///C:/Users/Dell_001/Dropbox/文献/留学生/平成28年度産業経済研究委託事業%20.pdf

近藤彩 (2014).「日本語日母語話者と母語話者が学びあうビジネスコミュニケーション教育―ダイバーシティの中で活躍できる人材の育成に向けて」『専門日本語研究』16巻,15-22.専門日本語教育学会.

ディスコ キャリタスリサーチ (2017).「外国人留学生/高度外国人材の採用に関する企業調査」Retrieved from https://www.disc.co.jp/wp/wp-content/uploads/2017/12/2017kigyougaikoku-report.pdf

日本貿易振興機構(ジェトロ)(2017).「タイ日系企業進出動向調査 2017年」Retrieved from https://www.jetro.go.jp/ext_images/_Reports/01/762117c2abed4a1c/20170074_summary.pdf

法務省入国管理局 (2017).「平成28年における留学生の日本企業等への就職状況について」Retrieved fromhttp://www.moj.go.jp/nyuukokukanri/kouhou/nyuukokukanri07_00157.html

細川英雄 (2017).「キャリアデザインのための自己表現とバイオグラフィ」 細川英雄・太田裕子編著『キャリアデザインのための自己表現―過去・現在・未来を結ぶバイオグラフ 』1-6, 東京図書.

文部科学省 (2017).「外国人留学生の就職促進について(外国人留学生の就職に関する課題等)Retrieved from https://www.jasso.go.jp/gakusei/career/event/guidance/__icsFiles/afieldfile/2017/07/04/12_h29guidance_ryuugakusei-session_monkasyou.pdf

山路尚武 (2017).「インターンシップの拡大に向けた施策について」文部科学省. Retrieved from https://career-edu.nikkeihr.co.jp/Career/disp/seminar_13_03.html

山本晋也 (2017).「過去・現在・未来を描く―留学生のキャリアデザインを考える」細川英雄・太田裕子編著『キャリアデザインのための自己表現―過去・現在・未来を結ぶバイオグラフィ』68-85. 東京図書.