Book Review on The Legends of Elderly Abandonment in Japanese Tales

Main Article Content

Duantem Krisdathanont

Abstract

หนังสือ ตำนานทิ้งคนแก่ในเรื่องเล่าญี่ปุ่น เป็นผลงานหนังสือเล่มที่ 11 ของอรรถยา สุวรรณระดา ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีโบราณแห่งสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าอรรถยา (ศาสตราจารย์ ดร.อรรถยา สุวรรณระดา) คือผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีญี่ปุ่นคนสำคัญในประเทศไทยที่รังสรรค์หนังสือ ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการด้านวรรณคดีญี่ปุ่นโบราณมากมาย ผลงานของอรรถยานับเป็นผลงานที่มีคุโณปการอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัยด้านวรรณคดีญี่ปุ่นในประเทศไทย ทั้งยังมีลักษณะเฉพาะตัวบางประการ นั่นคือ เป็นผลงานที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่นโบราณที่อ่านและตีความได้ยากจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษาไทยที่สละสลวย เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการในวงกว้าง มิได้จำกัดอยู่เพียงผู้ที่มีความสนใจในวรรณคดีเท่านั้น ผู้ที่มีความสนใจในความรู้ด้านญี่ปุ่นทั่วไปก็สามารถอ่านหนังสือ ตำนานทิ้งคนแก่ในเรื่องเล่าญี่ปุ่น ได้อย่างมีอรรถรส และได้เปิดโลกทัศน์ที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของคนญี่ปุ่นด้านต่าง ๆ โดยไม่ยาก ผู้เขียนได้วิเคราะห์แนวคิดและบทบาทความสำคัญของตำนานทิ้งคนแก่ญี่ปุ่นที่มีต่อสังคม ที่ปรากฏในวรรณกรรมประเภทเรื่องเล่า (物語) ของญี่ปุ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดต่าง ๆ ในสมัยเฮอัน เช่น แนวคิดเรื่องความกตัญญู แนวคิดเรื่องการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว แนวคิดเรื่องคุณค่าของผู้สูงอายุ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมในขณะนั้นคือ ปัญหาเรื่องผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งแนวคิดและปัญหาต่าง ๆ นี้เป็นสิ่งที่ยังคงดำรงอยู่คู่สังคมญี่ปุ่นมาแม้กระทั่งในปัจจุบัน

Article Details

Section
บทวิจารณ์หนังสือ
Author Biography

Duantem Krisdathanont, Chulalongkorn University

หนังสือ ตำนานทิ้งคนแก่ในเรื่องเล่าญี่ปุ่น เป็นผลงานหนังสือเล่มที่ 11 ของอรรถยา สุวรรณระดา ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีโบราณแห่งสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าอรรถยา (ศาสตราจารย์ ดร.อรรถยา สุวรรณระดา) คือผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีญี่ปุ่นคนสำคัญในประเทศไทยที่รังสรรค์หนังสือ ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการด้านวรรณคดีญี่ปุ่นโบราณมากมาย ผลงานของอรรถยานับเป็นผลงานที่มีคุโณปการอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัยด้านวรรณคดีญี่ปุ่นในประเทศไทย ทั้งยังมีลักษณะเฉพาะตัวบางประการ นั่นคือ เป็นผลงานที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่นโบราณที่อ่านและตีความได้ยากจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษาไทยที่สละสลวย เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการในวงกว้าง มิได้จำกัดอยู่เพียงผู้ที่มีความสนใจในวรรณคดีเท่านั้น ผู้ที่มีความสนใจในความรู้ด้านญี่ปุ่นทั่วไปก็สามารถอ่านหนังสือ ตำนานทิ้งคนแก่ในเรื่องเล่าญี่ปุ่น ได้อย่างมีอรรถรส และได้เปิดโลกทัศน์ที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของคนญี่ปุ่นด้านต่าง ๆ โดยไม่ยาก ผู้เขียนได้วิเคราะห์แนวคิดและบทบาทความสำคัญของตำนานทิ้งคนแก่ญี่ปุ่นที่มีต่อสังคม ที่ปรากฏในวรรณกรรมประเภทเรื่องเล่า (物語) ของญี่ปุ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดต่าง ๆ ในสมัยเฮอัน เช่น แนวคิดเรื่องความกตัญญู แนวคิดเรื่องการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว แนวคิดเรื่องคุณค่าของผู้สูงอายุ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมในขณะนั้นคือ ปัญหาเรื่องผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งแนวคิดและปัญหาต่าง ๆ นี้เป็นสิ่งที่ยังคงดำรงอยู่คู่สังคมญี่ปุ่นมาแม้กระทั่งในปัจจุบัน