ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎี CMM และแนวคิด RT ที่มีต่อความสามารถในการสนทนาแบบญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างความหมายร่วมกัน (CMM) และแนวคิดการอ่านบทละคร (RT) ที่มีต่อความสามารถในการสนทนาแบบญี่ปุ่น (共話 หรือ Kyouwa) ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มการเรียนรู้ศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ และ 2) แบบวัดความสามารถในการสนทนาแบบญี่ปุ่นร่วมกับเกณฑ์รูบริคส์ที่พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Wilcoxon signed - rank test ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลความสามารถในการสนทนาแบบญี่ปุ่นหลังจากเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 (z = 2.956, p-value = 0.003) ซึ่งในบทบาทผู้พูดมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 โดยพฤติกรรมที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 1) การพูดไม่จบประโยคเพื่อแสดงความเกรงใจ 2) การถามคู่สนทนาเพื่อสลับบทบาทเป็นผู้ฟัง ตามลำดับ ในบทบาทผู้ฟังมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 โดยพฤติกรรมที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 1) การตอบรับแสดงความรู้สึกร่วม 2) การตอบรับเสริมการสนทนาด้วยเสียงสั้นๆ หรือท่าทาง ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสาร jsn Journal
References
ดวงใจ จงธนากร. (2557). Project-Based Learning กับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น. 国際交流基金バンコク日本文化センター日本語教育紀要, (11), 13-19.
นะโอะโกะ โยะฌิดะ และ ทนพร ตรีรัตน์สกุลชัย. (2016). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน 1 ของนักศึกษาที่ไม่ใช่วิชาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา. 6(2).
พระอุดมธีรคุณ และ บัณฑิกา จารุมา. (2020). ภาษาและวัฒนธรรม: ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างกัน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ 7(2), 53-63.
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). การสื่อสารภายใต้มิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามแนวคิด Geert Hofstede Communication through Multi-Cultural Dimensions of Geert Hofstede. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(4), 223-240.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมัน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุมาลี วังทรายทอง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT = The development of learning activities on basic Japanese language for grade 10th students using cooperative learning team game tournament technique. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา
สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2019). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 36(1), 102-117.
ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์. (2018). การเปิดเผยตนเองในการสนทนาระหว่างผู้ที่เพิ่งรู้จักกัน: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาษาไทยกับภาษาญี่ปุ่น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 7(3).
วราลี จันทโร และ ธนภัส สนธิรักษ์ (2020). การวิเคราะห์ปัญหาด้านการใช้ภาษาญี่ปุ่นที่พบในการฝึกงาน. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 10(1), 65-82.
Adams, W. (2003). Readers theatre: A practical guide for school, theater, and community. San Diego, Ca: Institute for Readers Theatre.
Ataya Aoki. (2010). Rapport management in Thailand and Japanese Social Talk during Group Discussions. Pragmatics. International Pragmatics Association, 20(3), 289-313.
Augustin, A., & Vianty, M. Zuraida.(2015). Exploring the Potential of Reader s Theatre in the EFL Classroom. Journal of English Literacy Education, 2(2), 38-47.
Iwasaki, S., & Horie, P. I. (1998). The Northridge Earthquake' Conversations: Conversational Patterns in Japanese and Thai and their Cultural Significance. Discourse & Society, 9(4), 501-529.
Markova, V. (2011). The Japanese Communication Style. Scientific Grant Agency of the Ministry of Education of the Slovak Republik VEGA 10(1). 213-221
Patrick, N. G. (2010). Improving Oral Skills through Readers Theatre: A Study of Views of Japanese EFL Learners. 国際地域研究論集, (1), 37-49.
Pearce, W. B., Cronen, V. E. (1980). Communication, action, and meaning: The creation of social realities. Praeger.
Rafi, M. F. (2019). Teaching Speaking with Reader’s Theatre. Journal ELink, 6(1), 127-133.
Rosen, R. S., & Koziol Jr, S. M. (1990). The Relationship of Oral Reading, Dramatic Activities, and Theatrical Production to Student Communication Skills, Knowledge, Comprehension, and Attitudes. Youth theatre journal, 4(3), 7-10.
Sloyer, S. (1982). Readers Theatre: Story Dramatization in the Classroom. National Council of Teachers of English.
伊藤昭 & 矢野博之. (1998). 「「共話」-創発的対話の対話モデル」『情報処理学会研究報告音声言語情報処理 (SLP)』12、1-8.
久保田.(1994).「コミュニケーションとしてのあいづち―アメリカ人 と日本人に見られる表現の違い―」『異文化間教育』8、59-76.
笹川洋子. (2007).「異文化コミュニケーション場面にみられる共話の類型」『神戸親和女子大学言語文化研究』1、17-40.
田所希佳子. (2015)「『共話』の教育において学習者の認識に注目する重要性」『ヨーロッパ日本語教育シンポジウム(フランス)』第19回.
水谷信子. (1980).「「外国人の修得とコミュニケーション」『言語生活』12、28‐36.
水谷信子. (1993).「「共話」から「対話」へ」『日本語学』12(4)、4-10.
劉佳珺. (2009).「多人数会話における共話的なインターアクションの分析-日本語母語場面と日中接触場面の対照」『ことばの科学』22、97-116.