การศึกษาเปรียบเทียบกริยาช่วยประกอบท้ายคำกริยา “ได้” ในภาษาไทย กับสำนวนในภาษาญี่ปุ่นผ่านนวนิยายแปล

Main Article Content

สลิลรัตน์ กวีจารุมงคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกริยา “ได้” ที่ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยประกอบท้ายคำกริยาแสดงความหมายในเชิงทัศนภาวะกับสำนวนคู่เทียบภาษาญี่ปุ่น ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างกริยา “ได้” ที่ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยประกอบท้ายคำกริยาและสำนวนคู่เทียบในภาษาญี่ปุ่นจากนวนิยายแปลภาษาญี่ปุ่น-ไทย และ นวนิยายแปลไทย-ญี่ปุ่น ผลการวิจัยพบว่า กริยา “ได้” ประกอบท้ายคำกริยาแบ่งประเภทตามโครงสร้างและความหมายเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ความสามารถ/สมรรถภาพ/สมรรถนะ 2) ความเป็นไปได้ 3) ความน่าจะเป็น 4) การอนุญาต 5) ความต้องการ/การเรียกร้อง จากการเปรียบเทียบกับสำนวนคู่เทียบภาษาญี่ปุ่นพบว่า โครงสร้าง “ความสามารถ/สมรรถภาพ/สมรรถนะ” และ “ความเป็นไปได้” มีสำนวนคู่เทียบที่ไม่แสดงความหมายในเชิงทัศนภาวะมากกว่าร้อยละ 90 ในทางตรงกันข้าม โครงสร้าง “ความน่าจะเป็น” และ “ความต้องการ/การเรียกร้อง” มีสำนวนคู่เทียบที่แสดงความหมายในเชิงทัศนภาวะมากกว่าร้อยละ 70 ส่วน “การอนุญาต” พบการใช้สำนวนที่แสดงความหมายในเชิงทัศนภาวะและไม่แสดงความหมายเชิงทัศนภาวะเป็นจำนวนใกล้เคียงกัน โดยภาพรวมสำนวนคู่เทียบภาษาญี่ปุ่นมีแนวโน้มใช้สำนวนที่ไม่แสดงความหมายในเชิงทัศนภาวะมากกว่าร้อยละ 90 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างดังกล่าว ได้แก่ ความนิยมใช้อกรรมกริยาในภาษาญี่ปุ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ. (2565). มองภาษาญี่ปุ่นผ่านการเปรียบต่าง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญาภรณ์ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2562). การศึกษารูปประโยคだろう Daroo ในภาษาญี่ปุ่นกับสำนวนแปลในภาษาไทย กรณีศึกษาจากงานวรรณกรรม และบทสนทนาในละครโทรทัศน์. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and arts), 12(6), 2459-2475. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/201873/161494

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 : เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/

อุปกิตศิลปสาร. (2548). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Iwasaki, S., & Ingkaphirom, P. (2009). A reference grammar of Thai. Cambridge: Cambridge University Press.

Palmer, F. R. (2001). Mood and modality (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Takahashi, K., & Methapisit, T. (2004). Observations on form and meaning of dây. In Burusphat, S. (Ed.), Papers from the 11th Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society 2001 (2004), (pp. 701-719). Arizona: Arizona State University.

Uehara, S. (2012). The cognitive theory of subjectivity in a cross-linguistic perspective: Zero 1st person pronouns in English, Thai and Japanese. In T. Miyamoto, N. Ono, K. Thepkanjana, & S. Uehara (Eds.), Typological studies on languages in Thailand and Japan (pp. 119-136). Tokyo: Hituzi Syobo.

Sirimachan, S. (2013).『「もらう」と「~てもらう」の意味・用法―それに対応するタイ語表現の考察―』東京 : 絢文社.

Sujiwarodom, S. (2009).「受動受益的『~テモラウ』文とそれに対応するタイ語の表現」『国際交流基金バンコク日本文化センター日本語教育紀要』 6, 11-22.

高梨信乃 (2010).『評価のモダリティ―現代日本語における記述的研究―』東京 : くろしお出版.

高見澤孟・ハント蔭山裕子・池田悠子・伊藤博文・宇佐美まゆみ・西川寿美 (2004).『新・はじめての日本語教育1 日本語教育の基礎知識』東京 : アスク.

田中寛 (2004). 『統語構造を中心とした日本語とタイ語の対照研究』東京 : ひつじ書房.

陳琳俊 (2019).「日本語の『Vてもいい』の意味について」『名古屋大学人文学研究論』2, 165-176.

日本語記述文法研究会 (2003).『現代日本語文法4 : 第8部モダリティ』東京 : くろしお出版.

日本語記述文法研究会 (2009). 『現代日本語文法2 : 第3部格と構文 第4部ヴォイス』東京 : くろしお出版.