ความบาดหมางระหว่างนักรบพี่น้องในนิยายสงครามญี่ปุ่น: กรณีศึกษานิยายสงครามเรื่อง “โฮเง็นโมะโนะงะตะริ” “เฮะอิเกะโมะโนะงะตะริ” และ “ทะอิเฮะอิกิ”

Main Article Content

กณภัทร รื่นภิรมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอเหตุปัจจัยที่นำไปสู่ความบาดหมาง และการคลี่คลายความบาดหมางระหว่างนักรบพี่น้องที่ปรากฏในนิยายสงครามเรื่อง “โฮเง็นโมะโนะงะตะริ” “เฮะอิเกะโมะโนะงะตะริ” และ “ทะอิเฮะอิกิ” รวมทั้งวิเคราะห์ว่า การนำเสนอความบาดหมางดังกล่าวส่งผลต่อความเป็นไปของตระกูลอย่างไร จากการศึกษาพบว่า เหตุปัจจัยของความบาดหมางระหว่างพี่น้องมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากการเน้นเหตุปัจจัยภายในตระกูลอันเกิดจากพฤติกรรมของผู้เป็นพี่น้อง ไปสู่เหตุปัจจัยภายนอกตระกูล ได้แก่ อิทธิพลของสภาพสังคมจากกลุ่มนักรบและราชสำนัก ทั้งนี้แม้ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องจะเกิดความบาดหมางกัน ทว่าผู้เขียนมีแนวโน้มที่จะนำเสนอให้คู่ขัดแย้งโดยส่วนใหญ่มีฝ่ายที่แสดงท่าทีประนีประนอมเพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่า ผู้เขียนมีแนวโน้มที่จะนำเสนอความบาดหมางระหว่างพี่น้องให้เป็นเครื่องชี้ถึงการเสื่อมอำนาจของตระกูล รวมทั้งชี้เป็นนัยว่า ผู้นำที่สามารถคลี่คลายความบาดหมางลงได้ นับเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะนำพาความรุ่งเรืองมาสู่ตระกูล และสร้างความมั่นคงให้แก่กลุ่มนักรบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณภัทร รื่นภิรมย์. (2563). ความบาดหมาง ระหว่าง มินะโมะโตะ โนะ โยะฌิโตะโมะ กับ มินะโมะโตะ โนะ ทะเมะโตะโมะ ในนิยายสงครามเรื่อง “โฮเง็นโมะโนะงะตะริ”. วารสารวิชาการของสมาคมญี่ปุ่นศึกษาแห่งประเทศไทย, 10(2), 78-99.

กณภัทร รื่นภิรมย์. (2564). สายสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องตระกูลมิอุระในนิยายสงครามเรื่อง“โจกีวกิ”. ใน อรรถยา สุวรรณระดา (บ.ก.), หนังสือรวมบทความเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีภาควิชาภาษาตะวันออก สายนทีแห่งวิทยา 60 ปี ภาควิชาภาษาตะวันออก (น.74-102). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

石井由紀夫(1992).「足利尊氏・直義兄弟の光と陰―足利直義論(一)―」『語学文学』30, 19-25.

尾崎勇(1988).「延慶本『平家物語』における頼朝の造型」『国文学論叢』33, 95-105.

小野美典(1990).「平家滅亡の平家物語―延慶本の頼朝・法皇・建礼門院―」『山口国文』13, 35-46.

城坂早紀(2016).「『保元物語』の合戦場面における源為朝・源義朝の描出法―半井本と金刀比羅宮蔵本との比較から―」『同志社国文学』84, 54-67.

北林茉莉代(2012).「『平家物語』における兄弟の絆」『国文学試論』21, 50-59.

日下力 (2008).『いくさ物語の世界―中世軍記文学を読む』東京:岩波新書.

高橋典幸 (2021) .「御家人―史上空前の従者集団とその内実」田中大喜(編),『図説 鎌倉幕府』(82-85).東京:戎光祥出版株式会社.

元木泰雄 (1994).『武士の成立』東京:吉川弘文館.