สถานภาพความรู้และความเข้าใจ “ญี่ปุ่น” ของสังคมไทย: ศึกษาจากวิทยานิพนธ์ญี่ปุ่นศึกษา

Main Article Content

สรัญญา คงจิตต์

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา เพื่อสำรวจสถานภาพความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับญี่ปุ่นของสังคมไทยผ่านการศึกษาวิทยานิพนธ์จาก มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ที่มีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่นศึกษา 3 สถาบัน เพื่อสร้างฐานข้อมูลความรู้การวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา และ วิเคราะห์ประเด็นการศึกษาที่ควรศึกษาต่อไป โดยใช้คำว่า “ญี่ปุ่น” เป็นคำสำคัญในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลรวบรวมวิทยานิพนธ์ ไทยในโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทยถึงปี พ.ศ. 2553 ผล การศึกษา พบว่า มีวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์มากที่สุด และมีอยู่ในหลายสาขาวิชา หากแต่ประเด็นศึกษา ก็ยังเป็นการศึกษาจากสภาวะสังคมปัจจุบันในขณะนั้นๆ เน้นความสัมพันธ์ ด้านการค้าการลงทุน การศึกษาในช่วง 10 ปีหลังค่อนไปด้านภาษา และวรรณคดี ทำให้ทราบว่ายังขาดงานวิจัยเพื่อร่วมมือแก้ไข และ เตรียมรับมือปัญหาในมิติอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นประเด็นที่ ควรเร่งศึกษาเพื่อขยายความรู้ญี่ปุ่นศึกษาของสังคมไทยต่อไป

 

State of Knowledge on Japanese Studies in Thailand: A Survey of Master’s Theses

Saranya Kongjit

Faculty of Humanities, Chiang Mai University

This research aims to study the state of knowledge of Japanese Studies in Thai society by analyzing the data, master’s degree theses, gathered from three Japanese Studies schooling universities via Thai Library Integrated System (ThaiLIS). The purposes of the study is to (1) create the Japanese Studies theses database and (2) to indicate what issues about Japan that should be studied furthermore.

The result of research shows that the Japanese Studies related theses were found most in Thammasat University. Though topics of study is quite vary, they, however, related to current issues such as trading and investment in the meantime. Besides, the tendency of Japanese studies in the past 10 years also implies that the literature and Japanese linguistics related topics were very popular topics. This phenomenon suggests that we still lack of some significant fields of studies about Japan which should be more emphasized.

Article Details

Section
บทความวิจัย